หากพูดถึงการจาราจรในเมืองหลวง กรุงเทพมหานคร จะนึกถึงการจราจรที่หนาแน่นบนท้องถนนในเวลาช่วงเช้า และช่วงเวลาเย็น การระบายรถจึงกลายเป็นปัญหาหลักของมืองกรุง ในยามช่วงเวลา prime time และการให้บริการทางด้านคมนาคม จึงเป็นส่วนหนึ่งสำคัญในหารแก้ปัญหาของการแออัดรถบนท้องถนน หากใครเดินทางระหว่างเส้นทาง ถนนวิภาวดี-รังสิต ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการระบายจราจรเข้า-ออกจากกรุงเทพมหานคร สู่ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นเส้นทางหลักไปสู่ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งหลายคนจะใช้บริการ ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทล์ลเวย์ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โทล์ลเวย์ เป็นทางด่วนสายหนึ่งที่ ดำเนินการโดย บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) นั่นเอง
เกี่ยวกับ DMT
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือ DMT เป็นบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานในการจัดหาทุน ลงทุน ออกแบบ ก่อสร้าง ประกอบการและบำรุงรักษาทางยกระดับอุตราภิมุขช่วงดินแดงถึงอนุสรณ์สถาน ที่ดำเนินการมากว่า 30 ปี
DMT บริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจบริหารโครงการสัมปทานทางยกระดับดอนเมือง ให้บริการด้านคมนาคมขนส่งยานพาหนะที่เดินทางเข้า-ออกระหว่างกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลในบริเวณทิศเหนือ และเป็นเส้นทางหลักที่มุ่งสู่ภาคกลางตอนบน ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัทฯ ได้รับสิทธิให้บริหารจัดการทางยกระดับดอนเมืองความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร โดยให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทางอย่างครบวงจร ได้แก่ การจัดเก็บค่าผ่านทาง การอำนวยความสะดวกในการจราจร การกู้ภัย และการซ่อมบำรุงรักษาทางยกระดับ นอกจากความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยที่ผู้ใช้ทางจะได้รับเมื่อใช้บริการทางยกระดับดอนเมืองแล้ว บริษัทฯ ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่จัดการจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้ใช้ทางโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน รวมถึงเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่มีความชำนาญเฉพาะทางเพื่อคอยช่วยเหลือผู้ใช้ทางเมื่อประสบอุบัติเหตุหรือแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับยานพาหนะ โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าช่วยเหลือผู้ใช้ทางในทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
มีระยะทางรวมประมาณ 21 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. ทางหลวงสัมปทานเดิม ตั้งแต่ กม. 5+700 บริเวณดินแดง ถึง กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง รวมระยะทั้งสิ้น 15.4 กิโลเมตร
2. ทางหลวงสัมปทานตอนต่อขยายด้านทิศเหนือตั้งแต่ กม. 21+100 บริเวณดอนเมือง ถึง กม. 26+700 บริเวณอนุสรณ์สถานฯ ระยะทางประาณ 5.6 กิโลเมตร
วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือกลยุทธ์ในการดำเนินงาน
ในปี 2564 สืบเนื่องจากบริษัทฯ มีแนวทางพัฒนาธุรกิจเพื่อส่งมอบคุณค่าสู่ความยั่งยืน นอกจากนั้นองค์กรต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว ตาม Mega Trends ได้แก่ Change of Technology, Change of Law and Environment, Change of Consumer Behavior ทำให้องค์กรมีการปรับปรุงวิสัยทัศน์ และพัทธกิจขององค์กรดังนี้
วิสัยทัศน์
เป็นบริษัทฯ บริหารทางด่วนชั้นนำ ที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายถนนและระบบคมนาคมขนส่งมุ่งให้การบริการเป็นเลิศด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับการเดินทางด้วยระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพพัฒนาเทคโนโลยีและศึกษาในการลงทุนโครงการใหม่ทั้ง กลุ่มธุรกิจทางด่วนหรือทางพิเศษ และ การลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเพื่อส่งมอบคุณค่าสู่ความยั่งยืน
พันธกิจ
เราจะสร้างศักยภาพของบริษัทฯ ให้เติบโตด้วยแผนการเชื่อมโยงทางยกระดับเข้ากับเครือข่ายระบบคมนาคมขนส่งที่สนองตอบการขยายตัวระหว่างกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑล รวมถึงการเชื่อมโยงภูมิภาคของประเทศไทยด้วยการจัดการเส้นทางที่อำนวยความสะดวก ประหยัดเวลา และให้ความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานสากล มีการพัฒนาระบบการจัดการการวิเคราะห์ข้อมูล และระบบเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพพัฒนาเทคโนโลยี และด้านโครงการใหม่ทั้งกลุ่มธุรกิจทางด่วนหรือทางพิเศษและการลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ พร้อมกับยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อส่งมอบคุณค่าสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
นาย ธานินทร์ พานิชชีวะ
เป้าหมายและกลยุทธ์ในการดำเนินงาน
ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ซึงยังคงต้องติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิด และยังคงไม่แน่นอน บริษัทฯ ได้วางแผนการบริการจัดการอย่างรัดกุม ทั้งด้านการปฏิบัติการ ที่ต้องวางแผนดำเนินการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก ตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทาน อีกทั้งแผนการบริหารจัดการด้านการเงิน เพื่อให้บริษัท มีสภาพคล่องพร้อมรับทุกสถานการณ์ ซึ่งบริษัทฯ สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยประเมินว่าผลกระทบเหล่านี้จ่ะส่งผลต่อไปอีกในระยะ 1-2 ปี ซึ่งได้กำหนดเป็นแผนและนโยบายเพื่อบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมีแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ทางและมีความสามารถในการแข่งขันในอนาคต อย่างมั่งคงและยั่งยืนต่อไป
บริษัทฯ มุ่งเน้นพื้นฐานและองค์ประกอบของการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability Development) ซึ่งต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญร่วมกับการบริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการบูรณาการเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในกระบวนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายแห่งการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว และตอบสนองต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายการส่งมอบ “คุณค่าและความยั่งยืน” ใน 3 มิติ ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มดังนี้
มิติสิ่งแวดล้อม (Environment)
ปี 2564 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการวางระบบมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 เริ่มทำแผนธุรกิจโดยกำหนดโครงการ 1 แผนก 1 โครงการส่งมอบคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งคณะทำงาน 3Rs เพื่อสนับสนุนโครงการ 3Rs (Reuse, Reduce, Recycle) ตามนโยบายและกลยุทธ์ความยั่งยืน (Business Sustainability Plan) ของบริษัทฯ ทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อส่งมอบคุณค่า (Value Chain) ให้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน ครบวงจร และเกิดประสิทธิภาพ รวมถึงขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด การนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำ และใช้ประโยชน์ใหม่มีการวาง Roadmap เพื่อเป็นพันธสัญญาในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการลดก๊าชเรือนกระจก
มิติสังคม (Social)
บริษัทมุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทเล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของพนักงาน โดยเชื่อมั่นว่าพนักงานที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการนำพาองค์กรสู่ความเจริญเติบโตและความสำเร็จที่ยั่งยืน โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 บริษัทฯ ออกประกาศให้พนักงานสำนักงานสามารถปฏิบัติงานจากที่บ้านได้ (Work from Home : WFH) เนื่องจากบริษัทฯ ห่วงใยต่อสุขภาพของพนักงานระหว่าง การเดินทางมายังสำนักงานเพื่อลดอัตราความเสี่ยงจากการเดินทาง ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ให้สอดคล้องตามมาตรการของทางภาครัฐ อาทิเช่น จัดหาหน้ากากแจกจ่ายให้พนักงาน จัดหาชุดตรวจหาเชื้อโควิด ATK แจกจ่ายให้กับพนักงานทุกคน ตรวจหาเชื้อประจำทุกสัปดาห์ ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเซื้อภายในอาคารสำนักงาน อาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง ตู้เก็บค่าผ่านทาง และจุดหรืออุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสบ่อยทุกชั่วโมง รถยนต์ส่วนกลาง อุปกรณ์ในสำนักงานที่มีการใช้ร่วมกัน
พร้อมกันนี้บริษัทฯยังดูแลและพัฒนาชุมชนและสังคมด้วยการมุ่งสร้างประโยชน์กับชุมชนและสังคม โดยการลดผลกระทบทางลบและสร้างผลกระทบทางบวก ส่งเสริมทักษะความรู้ สร้างโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมและชุมชนให้ดีขึ้นทั้งในด้านการศึกษา (Tollway Smart Way) การปลอดยาเสพติด (Tollway Happy Way) ความปลอดภัยบนท้องถนน (Tollway Safety Way) คุณภาพชีวิตของคนในสังคม (Tollway Better Way) และร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม (Tollway Green Way) ตามแนวทางในการตอบแทนสังคมทั้ง 5 ด้านของบริษัทฯ
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทฯได้สานพลังช่วยเหลือสังคมโดยการจัดหาเตียงกระดาษสำหรับก่อตั้งโรงพยาบาลสนาม บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาลต่างๆ ที่อยู่บริเวณโดยรอบสถานที่ตั้งทำการของบริษัทฯ รับขวดพลาสติกที่ใช้แล้วนำไปรีไซเคิลเป็นชุด PPE ให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและบุคลากรทางแพทย์ นอกจากนี้ได้จัดทำโครงการ Tollway Better Way ทุกเวลาคือการให้ โดยทุกการชำระเงินของผู้ใช้บริการบนเส้นทางโทล์ลเวย์บริษัทฯ ร่วมสบทบทุน 12 สตางค์/เที่ยว เพื่อนำเงินไปร่วมสบทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องเครื่องตรวจอวัยวะภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงให้กับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 การดำเนินงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นอีกด้านหนึ่งที่บริษัทฯดำเนินงานควบคู่กับการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างความสมดุลของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างคุณค่าร่วมกัน
การกำกับดูแลกิจการ (Governance) หรือ มิติเศรษฐกิจ (Economic)
บริษัทฯ ยึดถือการดำเนินธุรกิจ ด้วยความซื่อสัตย์ มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์ภายใต้กำกับของตลาดหลักทรัพย์อย่างเคร่งคัด บริษัทให้ความรู้ด้านจริยธรรมแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านช่องทางการรับรู้ เช่น การจัดอบรมโครงการต่อยอดทางยกระดับจรรยาบรรณ นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของคุณภาพชีวิตของพนักงาน จึงมีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในสำนักงาน จึงได้ร่วมกับองค์กรภายนอกซึ่งได้แก่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 ในการดำเนินโครงการโรงงาน สีขาว โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นนโยบาย เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่น และเป็นแนวทางในการดำเนินการ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเชื่อมั่นว่าการมีสุขภาวะกายและใจ สุขภาวะทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ดี
ในส่วนของการให้บริการ DMT ได้นำเทคโนโลยี การติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางแบบอัตโนมัติ มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บค่าผ่านทาง และได้ศึกษาเทคโนโลยีการชำระเงินในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการชำระค่าผ่านทาง ซึ่งจะเพิ่มความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งมีระบบการควบคุมที่มีความมั่นคงและปลอดภัยมีขั้นตอนที่รัดกุม ทำให้การให้บริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถส่งเสริมศักยภาพในการศึกษาการลงทุนสำหรับโครงการใหม่ๆ ในอนาคต ที่ภาครัฐเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ DMT มีระบบสนับสนุนการบริหารงาน จากห้อง Operation Control Center ที่มีกล้อง CCTV ที่สามารถมองเห็นพื้นที่ส่วนใหญ่บนสายทาง สามารถควบคุมและสั่งการ โดยศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ ไปยังหน่วยงานกู้ภัยและหน่วยงานจัดการจราจร ได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดกรณีเหตุฉุกเฉิน จะสามารถดำเนินการได้ทันท่วงที จากระบบเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง (ตลอด 7 วัน)
ในส่วนของช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากลูกค้าผู้ใช้ทางฯ DMT มี Tollway Call Center 1233 และมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ของเทคโนโลยีปัจจุบัน DMT ได้เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่าน Facebook : Don Muang Tollway และจะมีการให้บริการผ่าน Line Official Account ภายในปีนี้
บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด มหาชน ยังคง ยึดมั่น พัฒนาอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งยังดูแลสังคม ควบคู่กับการทำงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ในหลากหลายกิจกรรมเพื่อสังคมไทย และยังคงมุ่งมั่น เดินหน้าพัฒนาประสิทธิภาพ ให้เป็นเส้นทางเลือกของผู้ใช้บริการ ให้ได้รับ ความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย