4 จับตานักการทูตพัฒนาเศรษฐกิจไทยเพิ่มสัมพันธภาพ
Four diplomats speak on the development of Thai economy and the increase of bilateral relationships.
The growth of Thai economy will be hard to achieve without the allied nations that are our good trade partners. This edition of ME Magazine will introduce to our readers the four ambassadors who represent the four allied nations in our country, including Malaysia, Sri Lanka, the United Kingdom, and Germany. Our interviews bring out their interesting perspectives about the economic situations and investment trend in Thailand, as well as the importance of international trade and diplomatic ties between Thailand and the four countries, which will influence our economic development in the future.
ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นเสมือนตัวเร่ง ทำให้โลกติดต่อกันได้เร็วขึ้นและมากขึ้น การพัฒนาและเจริญเติบโตของประเทศย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องติดต่อ ข้องเกี่ยวกับประเทศอื่น รัฐอื่นๆ ในสังคมโลก เพราะเรามิได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพังบนโลกใบนี้ การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเศรษฐกิจและสังคมนั้น ย่อมเป็นไปได้ยากหากไร้ซึ่งมิตรประเทศ
ที่พร้อมให้การสนับสนุน เกื้อหนุน และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ดังนั้น หากจะมองถึงอนาคตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจของประเทศไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับประเทศอื่นๆ ในสังคมโลกด้วย ในยุคปัจจุบันยิ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นได้ครอบคลุมไปถึงทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเมื่อมองดูรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ปรากฏอยู่ทั่วโลก จะเห็นได้ว่ามีทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ที่เป็นทางการอาจกระทำโดยรัฐหรือตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ โดยมีทั้งลักษณะที่เป็นทั้งความร่วมมือหรือความขัดแย้ง ทั้งในระดับเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบัน มักเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุ เพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคของผู้แลกเปลี่ยน เช่น การซื้อขายสินค้า การให้ทุนกู้ยืม การธนาคาร เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจนั้นเกิดขึ้น เนื่องจากแต่ละประเทศมิได้มีทรัพยากรทุกอย่างทุกประเภทโดยสมบูรณ์ หากยังต้องการทรัพยากรของประเทศอื่นด้วย ความต้องการทรัพยากรซึ่งกันและกันเช่นนี้ ทำให้เกิดความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร อันได้แก่ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เทคโนโลยี และบริการ เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะด้านสังคม ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี แหล่งท่องเที่ยว หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งพบว่าในหลายกรณี ก็มีส่วนช่วยส่งเสริม สนับสนุนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ให้แน่นแฟ้น และเจริญงอกงามขึ้นด้วย นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว รัฐต่อรัฐยังมีความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เพื่อให้การปฏิสัมพันธ์ข้ามพรมแดนดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน จึงมีการกำหนดกฎเกณฑ์ หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่างๆ โดยอาจปรากฏในรูปของสนธิสัญญา อนุสัญญา กฎบัตร หรือความตกลงต่างๆ ซึ่งแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ ในหลาย
กรณี ก็ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและชาติต่างๆ มากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมโลก เช่น ค่าของเงินสกุลใหญ่ๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ด้านรัฐ อาจได้รับผลกระทบในแง่ความมั่นคง เอกราช และอธิปไตย ตลอดจนเสถียรภาพทางการเมือง และบูรณภาพแห่งดินแดนของแต่ละชาติ ด้านประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น ในแง่ของความปลอดภัยและการกินดีอยู่ดี ด้านการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต และแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ หรือการพัฒนาเทคนิควิทยาการ เพื่อยกระดับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศให้เจริญก้าวหน้าขึ้น
โดยสรุปแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลต่อความสงบเรียบร้อย การกินดีอยู่ดี และการพัฒนาของประชาชน รัฐ และสังคมโลก ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม จึงนับว่ามีความสำคัญ ควรแก่การสนใจติดตามและทำความเข้าใจแน่นอนเมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราย่อมมิอาจมองข้ามกลุ่มบุคคลซึ่งมีบทบาทสำคัญ เสมือนเป็นตัวแทนของมิตรประเทศต่างๆ เหล่านั้น นั่นก็คือ นักการทูต ผู้มีบทบาทหน้าที่ในการรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศตนในเวทีต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นงานที่มีขอบข่ายค่อนข้างกว้าง ในอดีตนั้น ส่วนใหญ่นักการทูตมักเกี่ยวข้องกับการเมือง และมีบทบาทหลักถึงขั้นเป็นตัวตัดสินความอยู่รอดของเอกราชและอธิปไตย
ของชาติ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของนักการทูตก็ต้องปรับเปลี่ยนไป เพื่อให้ก้าวทันความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้น และการที่นานาประเทศต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญขึ้นในนโยบายต่างประเทศ โดยเชื่อมโยงกับปัจจัยทางการเมืองและสังคมเป็นสำคัญ นักการทูตจึงต้องรู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศและแนวโน้มต่างๆ กระทบต่อประเทศของตนอย่างไร และควรเตรียมรับมือหรือตอบสนองต่อปรากฏการณ์นั้นอย่างไร นอกจากนี้ ด้วยข่าวสารในยุคปัจจุบันที่สื่อถึงกันอย่างรวดเร็ว นักการทูตยิ่งต้องปรับตัวให้ทันต่อโลกอยู่ตลอดเวลา
นักการทูตที่ดีต้องพยายามรอบรู้ทุกเรื่องให้ลึกพอที่จะจับมาปะติดปะต่อ โยงทุกอย่างให้เห็นภาพรวม รู้ว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละอย่างจะมากระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศตนอย่างไร สมัยก่อนผลประโยชน์อาจเป็นเรื่องของการปกป้องเอกราชอธิปไตย แต่ปัจจุบันประเด็นปัญหาที่สำคัญมากขึ้นกลับเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการนำเข้าหรือส่งออก ประเด็นของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค ภาคเกษตรหรืออุตสาหกรรม ภาคเมืองหรือชนบท เป็นต้น นักการทูตที่มาประจำการในประเทศไทยก็เช่นกัน ส่วนหนึ่งของบทบาทนักการทูตเหล่านี้ ก็คือการส่งเสริมสินค้าจากประเทศของตน และการเปิดทาง เปิดโอกาส เอื้ออำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจจากประเทศตน ในขณะเดียวกันก็ต้องติดตามสถานการณ์ แนวโน้มทางการเมืองและสังคมที่อาจกระทบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศตนด้วย ซึ่งในทางกลับกันก็นำไปสู่การแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ และโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้างขึ้นของประเทศไทยเช่นกัน ด้วยบทบาทความสำคัญของนักการทูตดังที่กล่าวมา ME Magazine ฉบับนี้จึงขอพาท่านผู้อ่านมารู้จักกับเอกอัครราชทูต 4 ท่าน ผู้เป็นตัวแทนของมิตรประเทศทั้ง 4 อันได้แก่ มาเลเซีย ศรีลังกา อังกฤษ และเยอรมนี เพื่อรับฟังมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และทิศทางการลงทุนในประเทศไทย รวมถึงความสำคัญทางการทูตและการค้าระหว่างไทยกับ 4 ประเทศ อันจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
Peter Prügel
เพเทอร์ พรือเกล เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย กับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา และการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
His Excellency Mr. Peter Prügel, German Ambassador to Thailand on the Thai-German partnership in education and industrial investment
interview conducted on 22 December 2016
Our two countries have cherished a long-standing and deep friendship dating back to 155 years of bilateral diplomatic relations. This past year has been marked by the very sad demise of His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej, which has filled our hearts with grief. We deeply feel with the Thai people in this difficult time, and we do wish H.M. King Maha Vajiralongkorn a long and successful reign for the benefits and welfare of Thailand and all its citizens.
ความรู้สึกต่อการได้มาดำรงตำแหน่งที่ประเทศไทย
เมืองไทยเป็นประเทศที่ยอดเยี่ยม และคนไทยก็เป็นมิตรมาก ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้มาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำราชอาณาจักรไทย ผมเเละครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นตั้งเเต่มาถึงเมื่อตอนกลางปี พ.ศ. 2558 ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ผมได้มาดำรงตำแหน่ง แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยมีโอกาสได้เดินทางอยู่ไม่น้อยในภูมิภาคนี้ ช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาในไทยเต็มไปด้วยประสบการณ์ที่ดี เป็นช่วงเวลาที่ยุ่งแต่ก็น่าสนใจมาก ในฐานะเอกอัครราชทูตของเยอรมนี ผมได้ร่วมมือกับทีมงานทางสถานทูตในการสานต่อความสัมพันธ์อันดีงามและแน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองประเทศให้เพิ่มพูนขึ้น และก็ดีใจมากที่เราสามารถยกระดับความร่วมมือขึ้นมาอีกขั้น โดยเฉพาะในด้านพลังงาน ด้านสภาพภูมิอากาศ และการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเเละสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ขณะเสด็จฯ เยือนประเทศเยอรมนีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2503
“Although the recent decades were marked by recurrent political crises, the resilience of the Thai economy towards such external disturbances is remarkable. Amongst the German business community, the Thai economy is therefore often described as a “teflon-economy”, referring to the “non-stick effect” of the teflon where everything just peels off. German investors – and I am sure those from other nations too – appreciate the spirit and determination of the Thai business community to carry on and think positive.”
สภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน จากมุมมองของสถานทูต
จากมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ เมืองไทยถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่น่าลงทุนมากที่สุดมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ ไม่ใช่เพียงเพราะที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ของประเทศ หรือเพราะทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ แต่เพราะสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจและกรอบแผนนโยบายที่วางไว้สำหรับการลงทุน ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีปัญหาทางการเมืองในช่วงสิบปีที่ผ่านมาแต่เศรษฐกิจไทยก็สามารถสู้ผ่านมาได้อย่างยอดเยี่ยม ในชุมชนนักธุรกิจจากเยอรมนีจึงมักจะมองว่าเศรษฐกิจไทยนั้นเปรียบเสมือน “เศรษฐกิจเทฟล่อน” เพราะกระทะเทฟล่อนนั้นง่ายที่จะกำจัดสิ่งตกค้าง สิ่งสกปรกได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น นักลงทุนจากเยอรมนีและอีกหลายประเทศในต่างแดนจึงนับถือในความมุ่งมั่นของธุรกิจไทยที่จะเดินหน้าต่อไป แม้มีอุปสรรคเข้ามา อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาก็มีความท้าทายมากขึ้นสำหรับประเทศไทย อันเป็นผลมาจากความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอื่นในภูมิภาค ทำให้เกิดการแข่งขันกับประเทศไทยได้ง่าย หากยังไม่มีการลงมือปฏิรูปโครงสร้างอย่างจริงจัง ผมจึงเชื่อว่ามีอยู่สองสิ่งหลักๆ ที่ควรจะต้องพัฒนา สิ่งแรกคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมและการขนส่งทางรถไฟ ทางอากาศ ทางน้ำ จริงๆ แล้วในช่วงทศวรรษ 1990 นั้น สิ่งเหล่านี้คือปัจจัย
หลักที่ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามา จึงทำให้เศรษฐกิจไทยประสบความสำเร็จในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่สินค้าคุณภาพสูงของโลก ในวันนี้ประเทศไทยต้องหันมาลงทุนในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนเพื่อรักษาความสามารถในการเเข่งขันและทางเยอรมนีเองก็พร้อมที่จะสนับสนุนประเทศไทยในการช่วยกันแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าทางรัฐบาลไทยเองก็พร้อมจะส่งเสริมการปรับมาตรฐานให้เทียบเท่าระดับสากล และนโยบายที่เต็มไปด้วยคุณภาพนั้นจะส่งผลดีต่อการค้าและเศรษฐกิจในประเทศในระยะยาวส่วนอีกหนึ่งความท้าทายที่ไทยกำลังเผชิญอยู่คือด้านการศึกษา ไม่ไช่เเค่ในประเด็นเรื่องความต้องการเเรงงานฝีมือขั้นสูงซึ่งเราทั้งสองประเทศได้ร่วมกันจัดการปัญหานี้ได้โดยผ่านโครงการความร่วมมือไทยเยอรมันเพื่อความเป็นเลิศในการศึกษาทวิภาคี เเต่คุณภาพการศึกษาในระดับประถมเเละมัธยมศึกษายังคงเป็นปัญหาที่ต้องเเก้ไขกันต่อไปอย่างเร่งรีบเเละเป็นระบบ
ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดในด้านการค้าขายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและเยอรมนี
คนไทยและเยอรมันมีความผูกพันในด้านสังคมและวัฒนธรรมมาเป็นเวลานาน โดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันมาเยือนเมืองไทยกว่า 800,000 คนต่อปี และประชากรชาวเยอรมันที่มาพำนักอยู่ในไทยอย่างถาวรก็มีกว่า 30,000 คน รัฐบาลของสองประเทศต่างมีการร่วมมือกันในเวทีการเมืองระดับโลก เราประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีต่อกัน ประเทศเยอรมนีเป็นคู่ค้าจากทวีปยุโรปรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ส่วนทวีปยุโรปนั้นก็เป็นคู่ค้าขายรายใหญ่อันดับ 3 รองลงมาจากประเทศจีนและญี่ปุ่นเท่านั้น ช่วงที่ผ่านมาจะสังเกตได้ถึงการพัฒนาและขยายตัวของปริมาณ รวมถึงคุณภาพของการค้า เราประทับใจกับความตรงไปตรงมาเเละพร้อมสนับสนุนจากไทยในการทำงานร่วมมือกันเพื่อขจัดความยากลำบากเมื่อไรก็ตามที่เกิดขึ้นแต่ความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดคือความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีความสมดุลขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนจากทั้งสองฝั่ง เยอรมนีได้กลายเป็นประเทศที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนจากไทย และทางสถานทูตเองก็ภูมิใจที่ได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศแน่นแฟ้นขึ้นเพราะการพัฒนาในด้านนี้ส่วนเรื่องกรอบความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนในปัจจุบัน เเละอนาคตนั้น เราคาดหวังว่าการเจรจาการค้าเสรีสหภาพยุโรปเเละประเทศไทย ถ้าเจรจาสำเร็จ จะสร้างเเรงขับเคลื่อนทั้งสองฝ่ายอย่างมีนัยสำคัญ ข้อตกลงการค้านี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยน่าสนใจเเละเพิ่มศักยภาพในการลงทุน โดยเฉพาะในเทคโนโลยีเเห่งอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นการส่งต่อความรู้ใหม่ๆ ที่ไทยต้องการ ผมเองก็มั่นใจว่าทั้งบริษัทจากเยอรมนีและยุโรปก็พร้อมที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่
ระดับการลงทุนจากเยอรมนีในประเทศไทยในปัจจุบัน
ประเทศเยอรมนีเป็นคู่ค้าหลักของไทยจากทวีปยุโรปปัจจุบันนี้มีกว่า600บริษัทที่มาตั้งฐานอยู่ที่ประเทศไทยและยังมีอีกมากที่สนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มเติม บริษัทจากเยอรมนีขึ้นชื่อในเรื่องความมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่ไว้ใจได้ ดังนั้น ทุกบริษัทจึงต้องมีการวิเคราะห์มาแล้วอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในต่างแดนซึ่ง
หมายความว่าเมื่อใดก็ตามที่บริษัทจากเยอรมนีตัดสินใจมาเมืองไทยแล้วก็จะมาในระยะยาวเพื่อที่จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีด้วยและเพื่อลงทุน ไม่ได้มาเพื่อที่จะหากำไรเร็วๆ แล้วก็จากไปผมจึงดีใจเเละภูมิใจมากที่ได้เห็นว่าการเข้ามาลงทุนของเยอรมันนั้นไม่ได้มีระดับสูงแค่ในจำนวนบริษัทเเต่รวมทั้งในเรื่องคุณภาพเเละความจริงใจในการเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยโดยรับผิดชอบต่อทั้งเศรษฐกิจเเละสังคมด้วย
อุตสาหกรรมในไทยที่น่าดึงดูดที่สุด
อุตสาหกรรมที่เรามักจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ คืออุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กโทนิกส์ในสองภาคธุรกิจนี้เราเห็นได้ชัดว่าบริษัทจากเยอรมนีนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าของไทยและระดับโลกเป็นอย่างดี แต่จริงๆ นอกจากนี้ยังมีภาคอุตสาหกรรมที่สนใจอื่นอีก เเม้ว่าในบางครั้งอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่ได้ถูกจับตามอง ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมเคมีในไทยที่เสนอเงื่อนไขในการลงทุนที่ดีเเละมีศักยภาพ มีบริษัทเยอรมันอยู่สองสามรายที่เข้ามาผลิตเคมีภัณฑ์เฉพาะ เเละมีโรงงานผลิตชั้นเยี่ยม บริษัทจากเยอรมนีจึงได้ผลประโยชน์อย่างมากจากตรงนี้ เพราะเราเองก็ชินกับมาตรฐานที่เข้มงวดอยู่แล้ว ส่วนทางไทยก็ได้ประโยชน์จากความรู้ใหม่ๆ ที่ส่งต่อมาจากประสบการณ์ของเราโดยตรง อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้นักลงทุนอื่นๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายภาคธุรกิจที่มีศักยภาพสูงและเหมาะที่จะร่วมมือกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงานทดแทน การจัดการสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนเเปลงเเละปัญหาสิ่งเเวดล้อม
มาตรการที่จะช่วยส่งเสริมการลงทุนให้มากขึ้น
อันที่จริงแล้วทางไทยก็มีการพัฒนาขึ้นมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การริเริ่มกลุ่มเศรษฐกิจพิเศษ หรือการส่งเสริมการลงทุนในงานวิจัยและการพัฒนา แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นสำคัญที่ต้องจัดการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับไทย นอกจากการพัฒนาสาธารณูปโภค การปฏิรููปการศึกษา ตามที่กล่าวไปเเล้ว ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ ยังมีในประเด็นของการประมูลงานต่างๆ ที่ต้องโปร่งใส เเละเป็นไปตามระเบียบขั้นตอนตามที่กฏหมายกำหนด
เเละสิ่งเล็กๆที่สามารถทำให้นักลงทุนสบายใจในการเข้ามาลงทุน เช่น การปรับกระบวนการขั้นตอนให้ง่ายขึ้นสำหรับนักลงทุน ปรับขั้นตอนการออกใบอนุญาตให้สั้นลงการจัดการเรื่องการต่อวีซ่าและขอใบอนุญาตทำงานให้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้นักลงทุนรู้สึกว่าได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีอุตสาหกรรมการเกษตรก็เป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่สำคัญที่สุดของไทย ในภาคธุรกิจนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะตามคู่แข่งในภูมิภาคไม่ทัน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องราคาสินค้าที่ค่อยๆ ลดลง ดังนั้น การปฏิรูปโครงสร้าง เพิ่มความพร้อมของรัฐบาลไทย ชาวนาไทย และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย โดยการนำวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้จะเป็นโอกาสดีที่จะเพิ่มความน่าดึงดูดในการลงทุนจากมุมมองของธุรกิจ และยังมีโอกาสอีกมากที่จะลงทุนในธุรกิจฟาร์มเกษตรอินทรีย์ การผลิตอาหาร หรือในวงการพลังงานทดแทน เช่น มวลชีวภาพและพลังงานแสงอาทิตย์ อีกปัจจัยใหม่คือการเริ่มต้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่สูงขึ้นในเรื่องการค้าและบริษัทต่างๆ ก็เห็นถึงศักยภาพของไทยในฐานะประเทศผู้นำในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีอยู่อีกมากนอกจากนี้การเมืองเเละความมั่นคงภายในประเทศก็มีส่วนอยู่ด้วย ดังนั้น ผมจึงเชื่อมั่นว่า การกลับมาของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั่้งตามระบอบประชาธิปไตยที่เป็นไปอย่างเสรีเเละตามความต้องการของคนไทยจะนำไปสู่ความมั่นคงอยางยั่งยืนระยะยาว เเละทำให้ประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเต็มศักยภาพ
นโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนความสัมพันธ์ทางการทูตและส่งเสริมธุรกิจในไทยและเยอรมนี
เกือบทุกวันและทุกสัปดาห์ ผมจะได้ยินเรื่องโครงการทวิภาคีที่เกิดขึ้นใหม่ หรือพัฒนาขึ้นจากเดิมภายใต้การสนับสนุนของทางสถานทูตและรัฐบาลเยอรมัน แต่โครงการใหม่ๆ ที่ริเริ่มโดยบริษัทเอกชน องค์กรและนิติบุคคลนั้นยิ่งมีมากกว่า ผมเองก็ดีใจเเละภูมิใจที่ได้ร่วมรับรู้ว่า รัฐบาลเยอรมันมีโอกาสสนับสนุนความร่วมมือทวิภาคี ที่ดำเนินงานจากเเรงขับเคลื่อนภายในเองด้วยเราได้มีส่วนร่วมในหลายเรื่องเพื่อวางเเผนกรอบความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นต่อไป หนึ่งในความร่วมมือลักษณะนี้คือ เเถลงการณ์ร่วมเเสดงเจตจำนง ที่ผมลงนามร่วมกับรัฐมนตรี
ต่างๆ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มากขึ้น ประเทศของเราทั้งสองต่างมีโครงการร่วมในเรื่องสิ่งแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพลังงานทดแทนมาเป็นเวลานาน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นผ่านองค์กร GIZ ในส่วนของความสัมพันธ์ทางการทูต ทางสถานทูตเองก็มีความตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะสานต่อความสัมพันธ์ทางการเมืองโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราจึงหวังว่า การเปลี่ยนผ่านในปัจจุบันจะนำไปสู่การเลือกตั้งอย่างอิสระเเละยุติธรรม เเละการกลับมาของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2560 นี้จะผ่านไปด้วยดี ตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของรัฐบาลปัจจุบัน ในฐานะเพื่อนที่มีมิตรภาพที่ดีต่อกันมาเป็นเวลานานประเทศเยอรมนีจะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อสนับสนุนประเทศไทยเเละชาวไทยในความพยายามนี้ท้ายสุดนี้ในฐานะเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมิตรภาพที่ดีงามและยาวนานระหว่างสองประเทศ และผมจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อช่วยพัฒนาความสัมพันธ์นี้ในทุกๆ ด้าน
ก่อนจะย้ายมาประจำที่ประเทศไทยในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2558 ท่านเอกอัครราชทูตเพเทอร์ พรือเกล เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ณ กระทรวงต่างประเทศประจำกรุงเบอร์ลิน มาเป็นเวลา 3 ปี ท่านได้สะสมประสบการณ์เป็นเวลายาวนานจากทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะในฐานะรองหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตที่กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล กรุงแองการา ประเทศตุรกี หรือการไปประจำที่กรุงโรม เบลเกรด และปารีส แต่สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นครั้งแรกในการมาดำรงตำแหน่งในทวีปเอเชียอย่างเต็มตัว
3 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับท่านทูต Peter Prügel
- ท่านจบการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์และได้ศึกษาด้านวรรณกรรมและภาษาศาสตร์จากยุคโรมัน
- ท่านมีความสนใจเป็นพิเศษในด้านการแก้ไขวิกฤต (Crisis Resolution)
และการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก - นอกเหนือจากการไปประจำที่กรุงโรม เบลเกรด แองการา และเทลอาวีฟ
ท่านทูตเคยทำงานที่กระทรวงต่างประเทศในกรุงบอนน์ ระหว่างช่วงการถอนกองทัพสหภาพโซเวียตออกจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในปี
พ.ศ.2534-2535
BRIAN DAVIDSON
ไบรอัน เดวิดสัน เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย กับมุมมองใหม่ต่อโมเดล “ประเทศไทย 4.0”
BRIAN Davidson, British Ambassador to Thailand talked on Thailand 4.0
We in the UK are serious in wanting to expand and deepen the nature of our partnership. If anything, with Brexit in viewwe are looking even more energetically at regions and countries outside the EU with which we have the strongest ties, the greatest complementarity and most dynamic potential for collaboration. Thailand is clearly one of those countries.I believe that will create a bright future for Thai citizens in the UK and British citizens in Thailand.
ความแตกต่างระหว่างการดำรงตำแหน่งในประเทศไทยกับประเทศอื่น
ทุกประเทศและทุกเมืองในประเทศนั้นๆ มักจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป โชคดีมากที่ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเยียนหลายจังหวัดในไทย ขึ้นเหนือไปเชียงใหม่ เชียงราย ลงใต้ไปถึงภูเก็ต จึงมองเห็นภาพรวมและเข้าใจถึงความแตกต่างในแต่ละภูมิภาค ผมได้เรียนภาษาไทยมาเกือบ 6 เดือนก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต จึงได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการเมืองในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้การทำงานที่สถานทูตสบายขึ้น
ความรู้สึกหลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่ง
ช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาถือว่ายุ่งมาก เพราะต้องพบปะหารือกับองค์กรต่างๆ เพื่อสานต่อจากท่านเอกอัครราชทูตคนก่อน ทำความรู้จักกับ ครม. กลุ่มธุรกิจต่างๆ นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม แต่นั่นก็แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงและความหลากหลายของความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ ความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างคนไทยกับคนอังกฤษ ซึ่งโดดเด่นมากเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่ผมเคยได้อาศัยอยู่ พวกเราทางสถานทูตจึงรู้สึกเศร้าโศกเช่นเดียวกันกับพสกนิกรชาวไทยเมื่อได้ทราบข่าวถึงการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระ-ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สถานทูตอังกฤษได้ตระหนักถึงพระราชกรณียกิจอันดีงามที่ในหลวงรัชกาลที่ 9ได้ทรงทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง ทั้งในประเทศไทยและต่างแดน และผมหวังว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศของเราทั้งสองได้
เดินหน้าไปด้วยกันพร้อมกับความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต
มุมมองต่อเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
เนื่องจากประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เร็วขึ้นกว่านี้อีกแน่นอนในอนาคตอันใกล้ นี่คงเป็นจุดแข็งที่สำคัญของประเทศไทยในขณะนี้ แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงใหม่ๆ เช่นกัน เพราะเราต้องเดินหน้าตลอดเวลา ทั้งเรื่องโครงการพัฒนาระบบคมนาคม การวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้มั่นคง การปฏิรูประบบการศึกษาและอาชีวะ การลดกฎข้อบังคับในการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศ แต่โดยรวมแล้วผมเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยนั้นยังอยู่ในสถานะที่ดีและกำลังพัฒนาขึ้น ในส่วนของพื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคยังเติบโตในปี 2016 และคาดว่าแข็งแกร่งที่สุดในรอบสามปีที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังก็เป็นที่ยอมรับในเศรษฐกิจโลก ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสม หนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือภาคครัวเรือนก็ดูเหมือนจะมีผลตอบรับที่ดี
ความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างไทย – อังกฤษ
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนจากบริษัทไทยในประเทศอังกฤษเพิ่มขึ้นมาก
และมีการลงทุนหุ้นถึง 5 พันล้านปอนด์นอกจากนี้เรายังเห็นถึงความสนใจในภาคธุรกิจใหม่ๆ เช่น การลงทุนในที่พักอาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ในกรุงลอนดอน ธุรกิจในอุตสาหกรรมการบริการรวมไปถึงการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเห็นได้จากการร่วมมือกันระหว่าง Siam Cement Group (SCG) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดล่าสุดนี้เราได้จัดตั้งสภาผู้นำธุรกิจไทย – สหราชอาณาจักร (Thai – UK Business Leadership Council) ซึ่งประกอบไปด้วยนักลงทุนรายใหญ่จากไทยและอังกฤษทั้งหมด22 คน ด้วยความตั้งใจที่จะช่วยกันพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสนับสนุนความร่วมมือทางพาณิชย์ใหม่ๆ อย่างเช่น ธุรกิจ Tech Startups
ระดับการลงทุนของบริษัทอังกฤษในประเทศไทยในปัจจุบัน
หลายบรรษัทข้ามชาติจากสหราชอาณาจักร (MNC) มีการลงทุนค้าขายกับประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็น Rolls Royce (กว่า 50 ปี), Tesco Lotus (กว่า 20 ปี)
และ HSBC ซึ่งมีการลงทุนในไทยมายาวนานกว่า 150 ปีแล้ว แต่แน่นอนว่ายังคงมีโอกาสในการลงทุนอีกมาก ผมอยากจะสนับสนุนให้บริษัทในอังกฤษนั้นมองถึง “Opportunity Thailand” มากขึ้น นั่นหมายถึงภาคธุรกิจที่สำคัญต่อโมเดล “ประเทศไทย 4.0” เช่น ธุรกิจดิจิทัล Tech Startups สถาบันการศึกษา โครงการก่อสร้างพื้นฐานต่างๆ และวิศวกรรมชั้นสูง เช่น ระบบการคมนาคม ระบบบำบัดน้ำ อากาศยาน
นโยบายเพื่อส่งเสริมการค้าขายและการลงทุนในประเทศไทย
การแข่งขันเรื่องการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภูมิภาคอาเซียนนั้นค่อนข้างสูงมาก ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และยังมีสิ่งดีๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากแผนประเทศไทย 4.0 ผมคิดว่ายังมีงานต้องทำอีกมากเพื่อสื่อสารให้คนเข้าใจและลงมือทำให้เป็นจริง การผ่อนคลายมาตรการในการเป็นเจ้าของธุรกิจก็น่าจะช่วยได้มาก เช่น การยกเลิกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business Act) หรือผ่อนผันกฎเกณฑ์ในภาคธุรกิจต่างๆ น่าจะช่วยลดการแข่งขันลง กฎหมายเรื่อง FDA (Food and Drug Administration), การจัดซื้อจัดจ้าง (Open procurement) และใบอนุญาตทำงาน ก็อาจจะเป็นเรื่องดีถ้าจะนำมาตรการระดับสากลมาใช้ แทนที่จะค่อยๆ มาปรับกฎหมายไทย น่าจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจ (ปัจจุบันอยู่ลำดับที่ 46) นอกจากนี้แคมเปญอย่าง Amazing Thailand ก็น่าจะช่วยได้มากในการสื่อสารเรื่องโอกาสต่างๆ และโมเดลประเทศไทย 4.0 ให้ต่างประเทศได้เข้าใจมากขึ้น
ภาคธุรกิจที่น่าสนใจและน่าลงทุนที่สุดในประเทศไทย Digital start-ups ได้รับความสนใจมากขึ้น
ในประเทศไทย ทั้งในเรื่องโอกาสการลงทุนทางโซเชียลมีเดีย การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทางการเงิน และระบบ E-commerce ในภาคการค้าปลีก ตอนนี้
ประเทศไทยเหมือนอยู่ในจุดเปลี่ยน (Digital tipping point) เรื่องการใช้โซเชียลมีเดียก็ไม่เป็นรองที่ไหน และถ้ามีการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ระดับประเทศก็คงจะทำให้ก้าวหน้าไปได้เร็วขึ้นอีกนอกจากนี้ผมอยากให้ธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ ในอังกฤษหันมาสนใจประเทศไทยมากขึ้น เพราะดูแล้วคนไทยก็ ชอบดีไซน์แปลกใหม่ อีเวนต์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ และการมีส่วนร่วมในงานศิลป์ต่างๆ ซึ่งอังกฤษก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้ได้มาก
ความสำคัญของการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เรื่องการศึกษา ต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย – อังกฤษ
การร่วมมือกันด้านการศึกษาระหว่างไทยและอังกฤษถือเป็นหัวใจของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลยก็ว่าได้ ทั้งไทยและอังกฤษมีความสัมพันธ์อันดีงามมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยที่เหล่าราชวงศ์ไทยได้เดินทางมาเล่าเรียนในต่างแดน และผมเชื่อว่าในอนาคตก็จะมีโอกาสได้ร่วมงานกันต่อไปอีก ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกระทรวงศึกษาธิการ
ในส่วนของ British Council ก็ได้ริเริ่มโครงการใหม่ๆ เช่น การอบรมอาจารย์ไทยที่สอนวิชาภาษาอังกฤษ การหาทางส่งเสริมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) ให้กับคนรุ่นใหม่ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการปฏิรูประบบการศึกษา
นโยบายที่จะช่วยสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าต่างๆ ระหว่างไทย – อังกฤษ
ผมเชื่อว่าสภาผู้นำธุรกิจไทย – สหราชอาณาจักรนั้นมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันมากขึ้นในอนาคต ซึ่งผมหวังว่าจะทำให้มีการลงทุนจากประเทศไทยเข้ามาในอังกฤษมากขึ้นในด้านเทคโนโลยี ที่สำคัญกว่านั้นผมคิดว่าคนไทยอาจจะต้องทำความเข้าใจใหม่ว่าการค้าขายกับอังกฤษนั้นเป็นยังไงคุณภาพของสินค้าและความน่าไว้วางใจนั้นยังคงเหมือนเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลง แต่อยากให้ลองมองการค้าขายกับประเทศอังกฤษในด้านนวัตกรรมและด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย
ผลกระทบของ Brexit ต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอังกฤษ
เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักรนั้นมีรากฐานที่มั่นคงมาอย่างยาวนาน ผมมั่นใจว่าความสัมพันธ์นี้จะมีแต่พัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ และเชื่อว่าจะมีการร่วมมือกันอย่างครบวงจร อย่างที่เห็นได้ชัดว่าจุดแข็งของเศรษฐกิจไทยนั้นตรงกับความต้องการของบริษัทในอังกฤษ โครงการต่างๆ ก็แสดงให้เห็นว่าทางเราต้องการที่จะร่วมมือกันมากขึ้น จริงๆ แล้วการที่เกิด Brexit ขึ้นนั้นทำให้เราต้องมองหาโอกาสใหม่ๆ ในประเทศที่เรามีความสัมพันธ์อันดีงามด้วยในภูมิภาคอื่นๆ และในประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตลาดที่เข้ากันได้ดี และมีศักยภาพที่จะเดินหน้าไปด้วยกันได้ แน่นอนว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น และผมเชื่อว่าเราจะร่วมสร้างอนาคตอันสดใสให้กับประชาชนชาวไทยและอังกฤษไปพร้อมๆ กัน
ประวัติ หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานในทวีปเอเชียมาอย่างเต็มเปี่ยม กับอีก 9 ปีในตำแหน่งกงสุลใหญ่
ในมณฑลกว่างโจวและเซี่ยงไฮ้ คุณไบรอัน เดวิดสัน ได้เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต
สหราชอาณาจักร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และประชาชนชาวอังกฤษเพิ่งลงประชามติให้สหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปมาไม่นาน MMAG ONLINE จึงถือโอกาสนั่งคุยกับท่านถึงผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย และนโยบายในการก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยกันในโลกยุคดิจิทัล
4 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับท่านทูต Brian Davidson
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขากฎหมาย
- ท่านดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่ระหว่างประจำอยู่ที่มณฑลกว่างโจวและเซี่ยงไฮ้ ระหว่าง พ.ศ. 2549-2558
- มีประสบการณ์ดำรงตำแหน่งนักวิเคราะห์ด้านก่อการร้ายและความมั่นคงระหว่างประเทศ
- ท่านสามารถพูดภาษาจีนได้เป็นอย่างดี และได้สมรสกับนายสก็อต ชาง ณ สถานทูตอังกฤษในปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2557
Dato’ Nazirah binti Hussain
ดาโต๊ะ นาซีเราะห์ บินตี ฮูเซ็น เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย กับการส่งเสริม SMEs และความสัมพันธ์บริเวณชายแดน
Malaysian Ambassador to Thailand and her mission on empowering SMEs and strengthening Border relationship
In Thailand, we’re very sad aboutthe passing away of His Majesty King Bhumibol Adulyadej – as part of the community as residents, we understand the grief well because he’s been a strong influence and a good humanitarian monarch, who always had welfare of the Thai people at heart.
ความสัมพันธ์ระหว่างมาเลเซียและไทย
ไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่งมาร่วมศตวรรษ ในปีนี้ท่านนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซะก์ ก็ได้มาเยือนประเทศไทยถึง 3 ครั้ง ส่วนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็เพิ่งเสด็จฯเยี่ยมรัฐปีนังเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ดังนั้นถ้ามองในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของสองประเทศถือว่าดีมาก ไทยและมาเลเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีงามในหลายด้าน ทั้งการเมือง การค้า
วัฒนธรรม และการศึกษา มีนักศึกษาจากมาเลเซียจำนวนมากที่เข้าโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยในไทย และทางเราก็อยากส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้มากขึ้น เพื่อจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าเดิม
นอกจากนี้ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากนักท่องเที่ยวชาวจีน เราจึงอยากสนับสนุนให้ชาวไทยมาเที่ยวประเทศมาเลเซียมากขึ้นบ้าง เพราะเราก็อยู่ใกล้กันเพียงแค่นี้ ทางสถานทูต
ก็อยากส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มากขึ้น
มุมมองต่อการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ประเทศไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 5 ในโลก และอันดับ 2 ในอาเซียน รวมมูลค่าส่งออก-นำเข้าระหว่างไทย-มาเลเซียในปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 22 พันล้าน หลังจากที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้พบปะหารือกันก็ได้ข้อสรุปว่าเราต้องการเพิ่มมูลค่าให้ถึง 30 พันล้านในปี 2561 จากที่เคยตั้งเป้าหมายไว้ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าครั้งที่ 2 (Joint Trade committee) นอกจากนี้เราอยากจะส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะในเรื่องผลิตภัณฑ์ประเภทฮาลาล เพราะเป็นสิ่งที่มาเลเซียชำนาญเป็นพิเศษ ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มีผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น CP แต่เมื่อพูดถึงฮาลาลแล้วก็หมายถึงสินค้าในด้านไลฟ์สไตล์ด้วย เช่น เครื่องสำอาง และเภสัชกรรม ก่อนหน้านี้เราจะเน้นไปที่สินค้านำเข้า-ส่งออกทั่วไปมากกว่า แต่ดิฉันเชื่อว่ายังมีโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมฮาลาลได้อีกเยอะ ถ้าเราได้ร่วมมือกันด้วยมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับระดับโลกของมาเลเซีย และความสามารถในการผลิตสินค้าการเกษตรของไทย ดิฉันเชื่อว่าเราจะช่วยกันส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ในตลาดโลกได้ ปัจจุบันนี้ตลาดของผู้บริโภคนั้นใหญ่มาก เพราะมีชาวมุสลิมถึง 2 พันล้านคน และยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทย เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวใน 2-3 ปีที่ผ่านมา
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจนี้มีผลกระทบทั่วโลก หลายประเทศกำลังต่อสู้กับช่วงเวลาที่ยากลำบากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ดิฉันคิดว่าประเทศไทยทำได้ดีทีเดียว แม้ว่าสินค้าจะราคาตก แต่ก็นับเป็นโอกาสดีที่จะหันมาลงทุนในนวัตกรรมใหม่ๆ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อปรับตัวและแก้ปัญหา เช่น การหาทางนำวัตถุดิบที่เราคุ้นเคยมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบใหม่ๆอย่างไรก็ดี ดิฉันมั่นใจในการพัฒนาประเทศของที่นี่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติมาเป็นเวลานาน ทำให้พวกเราสามัคคีกันตอนนี้ไทยมีรัฐธรรมนูญ และประชามติซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้ว ดิฉันมองเห็นแต่สิ่งดีๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ และการที่มีบริษัทจากมาเลเซียถึง 500 แห่ง มาดำเนินกิจการอยู่ในแผ่นดินไทยก็แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจในเศรษฐกิจไทย ซึ่งดิฉันเชื่อว่าประเทศอื่นๆ ก็สนใจที่จะลงทุนเช่นกัน
ระดับการลงทุนจากบริษัทมาเลเซียในปัจจุบัน
ดูจากฐานข้อมูลดุลการชำระเงินระหว่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศมาเลเชีย(BANK NEGARA) แล้ว การลงทุนในไทย (Direct Investment Abroad) นั้นอยู่ที่ 362 ล้านในปี 2558 ซึ่งตกลงมาจาก 537 ล้านในปี 2557 แต่ถึงกระนั้นการลงทุนระหว่างปี พ.ศ. 2551-2558 ก็มีมูลค่าถึง 2.01 พันล้าน และเป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจที่หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การธนาคาร การบิน และภาคธุรกิจการบริการต่างๆ เช่น CIMB, Air Asia และ Petronas นอกจากนี้ยังให้ความสนใจลงทุนในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ในประเทศไทย สำหรับปีนี้เรามีการจัดงาน Business matching ในช่วงที่รัฐมนตรีการค้าระหว่างประเทศของมาเลเซียได้เดินทางมาจัดสัมมนาในไทย และจัดขึ้นอีกครั้งที่โกตาบารูเพื่อเป็นการโปรโมทธุรกิจ SMEs ซึ่งท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ให้เกียรติเข้าร่วมงานเพื่อช่วยโปรโมทบริษัทต่างๆ อีกด้วย มีธุรกิจไทย 40 ราย และมาเลเซีย 100 ราย ถือว่าเป็นงานที่ประสบความสำเร็จมาก และดูเหมือนทางเราจะให้ความสนใจในเรื่องผลิตภัณฑ์ความงาม เครื่องสำอาง และไลฟ์สไตล์เป็นพิเศษ ทั้งหมดนี้ก็ดูจะเดินหน้าไปได้ดี
อิทธิพลของวัฒนธรรม ต่อความสำเร็จทางการค้าระหว่างไทย – มาเลเซีย
นอกจากจะเป็นเพื่อนบ้านกันแล้ว ไทยและมาเลเซียยังมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะบริเวณชายแดน เราพูดภาษาเดียวกัน และนับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน หลายครอบครัวมาจากต้นตระกูลเดียวกัน ทำให้เราใกล้ชิดกันมาก และเป็นโอกาสดีทางการค้าโดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SMEs บริเวณชายแดน ไม่ใช่แค่สำหรับคนมาเลเซีย แต่สำหรับคนไทยในภาคใต้ด้วย ทางเราก็มีนโยบายที่จะสนับสนุนธุรกิจรายย่อย เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ เรามีการช่วยเหลือมอบทุนให้กับธุรกิจที่สนใจในการค้าออนไลน์และดิจิทัล อยากให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อที่จะสามารถส่งออกสินค้าไปได้ไกลกว่าชายแดน ดิฉันหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้สถานการณ์วุ่นวายในจังหวัดทางภาคใต้สงบสุขขึ้น เราเห็นความสำคัญของการค้าขายระหว่างชายแดนมาตลอดอยู่แล้วเพราะถือว่าเป็นถึง 60% ของการค้าทั้งหมด การจัดงานอย่าง Border Trade Expo ในจังหวัดสงขลาเมื่อปี 2558 ถือว่ามีประโยชน์มากในการประชาสัมพันธ์เรื่องการค้า การลงทุน และเป็นการเพิ่มโอกาสระหว่างนักลงทุนจากทั้งสองประเทศ ท่านนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียเองก็ได้กล่าวไว้หลายครั้งว่าท่านเชื่อมั่นในโครงการต่างๆ ที่ริเริ่มมาจาก Indonesia-
Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT) ไม่ว่าจะเป็น IMT-GT Plaza แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองในชายแดน และ
ก่อตั้ง Halal Park บริเวณชายแดน
นโยบายที่จะช่วยส่งเสริมสัมพันธภาพให้ดีขึ้นในอนาคต?
ดิฉันมองว่าอยากให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากร และเรื่องการศึกษา อยากให้นักเรียนได้เข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น เพราะพวกเขาคืออนาคตของชาติ เรามีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างใกล้เคียงกัน แต่ก็มีความแตกต่างเช่นกัน ซึ่งเราสามารถเรียนรู้อะไรจากกันได้เยอะ ดิฉันเชื่อว่าทั้งมาเลเซียและไทยจะเดินหน้าเข้าสู่ปี 2020 ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี และมีความมั่นคงทางการเมือง แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือเราต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันต่อไปในฐานะสมาชิกของอาเซียนที่มีประชากรกว่า 620 ล้านคน เราควรพยายามลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ พวกเราพำนักอาศัยอยู่ใน AEC ดังนั้น เราชาวอาเซียนก็ต้องพยายามมองว่าอาเซียนให้อะไรกับเรา และเราให้อะไรกลับเข้าสู่ประชาคมได้บ้าง เราต้องทำให้ทุกคนรู้และเข้าใจว่าในที่สุดแล้วเราทุกคนก็เป็นชาวอาเซียน
บินตี ฮูเซ็นมีประสบการณ์การทำงานทั่วแถบทวีปเอเชีย และได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย โดยเฉพาะในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศกำลังรับอิทธิพลทางตะวันตกเข้ามามากขึ้น และในประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นช่วงปีที่เกิดสงครามกลางเมืองและพายุคลื่นสึนามิ หลังจากนั้นได้ย้ายมาประจำที่ประเทศไทยกว่า 5 ปีแล้ว MEMEAG ONLINE จึงถือโอกาสพูดคุยกับท่านถึงประสบการณ์ในประเทศไทยกันบ้าง
3 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับท่านทูต Dato’ Nazirah Binti Hussain
- ผู้นำประเทศที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานของท่าน คือ เนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีประเทศแอฟริกาใต้
- ท่านประทับใจในบทกลอนจากทวีปแอฟริกา เพราะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ
- นอกเหนือจากประสบการณ์ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในภูมิภาคแล้ว ท่านเคยดำรงตำแหน่ง Director General ใน Department of Policy Planning ณ กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศมาเลเซีย
Mrs. KSHENUKA SENEWIRATNE
เชนูก้า เซเนวิรัตน์ เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย กับการพัฒนาความสัมพันธ์ทางศาสนาวัฒนธรรมที่มีมายาวนานกว่าแปดศตวรรษ
HER Mrs. KSHENUKA SENEWIRATNE, Sri Lankan Ambassador to Thailand on maintaining centuries of cultural and spiritual relations
We can see a lot of fiscal stimulus being put in place. Tourism now also a key driver and promotion is very well handled here.
We can see that the confidence will always be there that won’t slip any further because the actions have been taken to keep
things afloat. Anyone from my part of the world looking at the Thai Economy can be confident.
ประสบการณ์ทำงานในฝั่งตะวันตก และทวีปเอเชีย
ก่อนหน้านี้ดิฉันเริ่มต้นจากการไปประจำตำแหน่งอยู่ที่นครนิวยอร์ก หลังจากนั้นได้ย้ายไปประจำที่กรุงบรัสเซลส์เนื่องจากศรีลังกามีความสัมพันธ์ทวิภาคีกับสหภาพยุโรป แต่ดิฉันดำรงตำแหน่งนานที่สุดที่สหราชอาณาจักร เริ่มจากตำแหน่ง Deputy High Commissioner และต่อเนื่องด้วยตำแหน่ง Head of the High Commissioner หลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาเป็น Permanent Representative ที่องค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา สำหรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย เป็นตำแหน่งแรกในแถบเอเชีย และฉันก็ตั้งใจเลือกที่จะมาประจำที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 สำหรับดิฉันเมืองไทยเป็นประเทศในดวงใจ เสมือนเป็นบ้านอีกหลังในต่างแดน และดิฉันรู้สึกสบายใจมากเมื่อได้มาทำงานที่นี่ หลังจากที่ได้มาประจำการเพียงเดือนกว่าๆ ท่านประธานาธิบดีแห่งศรีลังกาก็ได้มาเยือนประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ศรีลังกา ต่อด้วยการไปเยือนศรีลังกา ของรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิดจาตุศรีพิทักษ์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ แต่จริงๆ แล้วความสัมพันธ์นี้เริ่มต้นเมื่อ 800 ปีมาแล้ว อันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่สองประเทศเกื้อหนุนกันมาตั้งแต่อดีต ทำให้ประเทศของเรามีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งต่อกัน ทุกวันนี้เราก็ยังมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องศาสนา ฉันจึงรู้สึกสบายใจมากเมื่อได้มาประจำที่นี่
ความผูกพันในเรื่องพระพุทธศาสนา และผลกระทบต่อการลงทุนและการค้าระหว่างไทย – ศรีลังกา
ความมั่นใจต่อการลงทุนในธุรกิจของประชาชนก็มาจากความเข้าใจทางศาสนาในระดับหนึ่ง การที่เรามีความสนใจที่ตรงกัน มีความเข้าใจ
และค่านิยมทางศาสนาที่ใกล้เคียงกันในการดำรงชีวิตประจำวัน ช่วงที่ท่านประธานาธิบดีฯ มาเยือนประเทศไทย เราก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุจากมหิยานกานายามาไว้ที่พุทธมณฑลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และมีประชาชนชาวไทยเข้ามาร่วมทำบุญกว่า 500,000 คน ทางเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในทุกด้าน
การเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย
หลังจากการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 2 (ACD Summit) มีนโยบายหลายด้านที่เราได้มีการหารือกัน เช่น การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร เพราะอย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยนั้นชำนาญในภาคธุรกิจนี้มาก และศรีลังกาก็เป็นเศรษฐกิจการเกษตร ในเรื่องอุตสาหกรรมยางพารา และอาหารสำเร็จรูปก็เช่นกัน เรากำลังพยายามเรียนรู้จากประเทศไทยมากขึ้น
เรื่องธุรกิจการส่งออกนั้นประเทศไทยได้เปรียบอยู่แล้วเมื่อเทียบกับศรีลังกา ซึ่ง ดร.สมคิด ก็ทราบและต้องการที่จะช่วยสนับสนุนให้ดุลการค้านั้นเท่าเทียมกันมากขึ้น ตอนนี้เรากำลังหารือเรื่องความเป็นไปได้ของข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เราเคยเริ่มการต่อรองเรื่องการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Agreement) ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในตอนนั้น แต่อย่างน้อยเราก็มีพื้นฐานที่สามารถจะสานต่อได้ ด้วยความช่วยเหลือจากคณะอนุกรรมการด้านการค้า (Subcommittee onTrade Related Matters) และเราก็หวังว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
ความผูกพันในเรื่องพระพุทธศาสนา และผลกระทบต่อการลงทุนและการค้าระหว่างไทย – ศรีลังกา
ความมั่นใจต่อการลงทุนในธุรกิจของประชาชนก็มาจากความเข้าใจทางศาสนาในระดับหนึ่ง การที่เรามีความสนใจที่ตรงกัน มีความเข้าใจ และค่านิยมทางศาสนาที่ใกล้เคียงกันในการดำรงชีวิตประจำวัน ช่วงที่ท่านประธานาธิบดีฯ มาเยือนประเทศไทย เราก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุจากมหิยานกานายามาไว้ที่พุทธมณฑลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และมีประชาชนชาวไทยเข้ามาร่วมทำบุญกว่า 500,000 คน ทางเราเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในทุกด้าน
การเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย
หลังจากการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 2 (ACD Summit) มีนโยบายหลายด้านที่เราได้มีการหารือกัน เช่น การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร เพราะอย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยนั้นชำนาญในภาคธุรกิจนี้มาก และศรีลังกาก็เป็นเศรษฐกิจการเกษตร ในเรื่องอุตสาหกรรมยางพารา และอาหารสำเร็จรูปก็เช่นกัน เรากำลังพยายามเรียนรู้จากประเทศไทยมากขึ้น
เรื่องธุรกิจการส่งออกนั้นประเทศไทยได้เปรียบอยู่แล้วเมื่อเทียบกับศรีลังกา ซึ่ง ดร.สมคิด ก็ทราบและต้องการที่จะช่วยสนับสนุนให้ดุลการค้านั้นเท่าเทียมกันมากขึ้น ตอนนี้เรากำลังหารือเรื่องความเป็นไปได้ของข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เราเคยเริ่มการต่อรองเรื่องการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Agreement) ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในตอนนั้น แต่อย่างน้อยเราก็มีพื้นฐานที่สามารถจะสานต่อได้ ด้วยความช่วยเหลือจากคณะอนุกรรมการด้านการค้า (Subcommittee onTrade Related Matters) และเราก็หวังว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ล่าสุดนี้ บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงก็ได้ลงทุนในธุรกิจปูนซีเมนต์ในศรีลังกา โดยเข้าซื้อกิจการของบริษัท Holcim ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดจากประเทศไทย นอกจากนี้ทางเราก็กำลังปรึกษาหารือกับคุณวิกรม กรมดิษฐ์ จากกลุ่มอมตะในเรื่องการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ในประเทศศรีลังกา จึงดูเหมือนว่าการลงทุนและการร่วมมือกันก็เดินหน้าไปในทางที่ดี
เรื่องการท่องเที่ยว คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวถึง 33 ล้านคนในไทยปีนี้ ส่วนศรีลังกานั้นยังต้องเติบโตอีกมาก ในปีนี้ก็มีเพียง 2.6 ล้านคน ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากศรีลังกามาเที่ยวในไทยประมาณ 80,000 คนต่อปี แต่มีเพียง 8,000 คนจากไทยไปศรีลังกา ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะประเทศของเรามีหลายอย่างที่ดิฉันเชื่อว่าคนไทยน่าจะสนใจ โดยเฉพาะ “Spiritual Tourism” ที่เกี่ยวกับสถานที่สำคัญทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพระบรมสารีริกธาตุในเมืองแคนดี้ หรือจะเป็นต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ โดยรวมแล้วเรามีสถานที่ท่องเที่ยวหลักทางศาสนาถึง 16 แห่ง ที่พร้อมจะให้คนไทยได้เข้ามาสัมผัสและค้นหา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเรายังไม่ได้ทำการตลาดตรงนี้ให้ประชาชนชาวไทยได้ทราบ ตอนนี้จึงเริ่มเข้าร่วม Thai Tourism Fair เป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และมีการจัดทริปท่องเที่ยวให้กับสื่อมวลชน บริษัททัวร์ และเอเยนต์ต่างๆ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีความตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือกับเราตรงนี้ ถือเป็นเรื่องน่ายินดีมาก
มุมมองต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน
ถึงแม้การเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว (จาก 2.8% เหลือ 2.5%) แต่ฉันคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และปริมาณอุปสงค์ที่ลดลงสำหรับสินค้าส่งออก แต่เมื่อเทียบดูกับเศรษฐกิจอื่นๆ ในภูมิภาคที่กำลังพัฒนา ประเทศไทยก็ดูจะฟื้นตัวได้ดีทีเดียว
ฉันจึงเชื่อว่าประเทศไทยมีนโยบายที่ดีในการป้องกันความเสี่ยงและความแปรปรวนของปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายประเทศสามารถนำไปใช้เป็นบทเรียนได้นอกจากนี้ยังมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอีกหลายอย่างที่ดี การโปรโมทการท่องเที่ยวก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ไทยทำได้ดีมาก ดังนั้น ความมั่นใจในเศรษฐกิจไทยนั้นยังมั่นคงอยู่แน่นอน เวลาเราดูดรรชนี เช่น เส้นแบ่งความยากจน (Poverty line) ก็จะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์ค่อยๆ ลดลง อัตราการว่างงานก็ต่ำกว่า 1% ถึงแม้ตอนนี้เป็นช่วงที่ประชาชนชาวไทยกำลังไว้ทุกข์ แต่ค่าเงินไทยและตลาดการเงินก็ยังดูมั่นคง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถาบันการเงินนั้นทำหน้าที่ได้ดี ดูจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้วจะเห็นได้เลยว่าความมั่นใจในการลงทุนยังไม่ได้เปลี่ยนไป
การเดินหน้าของประเทศไทยและศรีลังกา ในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง
จริงๆ แล้วยังไม่เห็นว่ามีความไม่แน่นอน ในด้านการเมืองเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่แล้ว ฉันเชื่อว่าสถานการณ์ด้านการเมืองนั้นขึ้นอยู่กับประชาชนชาวไทย และทางรัฐบาลที่จะทำตามแผนประชามติ ฉะนั้น คงจะมีแต่เรื่องการค้าขายและการลงทุนที่ทางฝั่งเราจะพยายามผลักดันให้เดินหน้าต่อไป .
ประวัติ หลังจากมีประสบการณ์ทำงานในแถบตะวันตกมาหลายสิบปีไม่ว่าจะเป็นนครนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และบรัสเซลส์ เชนูก้า เซเนวิรัตน์
ได้เลือกมารับตำแหน่งแรกในทวีปเอเชีย ณ กรุงเทพมหานคร ในฐานะเอกอัครราชทูต เนื่องจากประเทศไทย-ศรีลังกาเพิ่งทำการฉลอง 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ME Magazine ได้นั่งหารือกับท่านทูตเรื่องความเป็นมาของความสัมพันธ์อันดีงามที่ผ่านมา กับอนาคตของการลงทุนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศศรีลังกา
3 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับท่านทูต Kshenuka Senewiratne
- ท่านเริ่มการทำงานในกระทรวงต่างประเทศในปี พ.ศ. 2528
- ท่านเป็นสตรีคนแรกจากประเทศศรีลังกาที่ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ เมื่อประจำการอยู่ที่สหราชอาณาจักร
- ท่านเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งตำแหน่งเลขานุการ กระทรวงต่างประเทศ ประเทศศรีลังกา