การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ การตลาด ให้กับ แบรนด์ที่ต้องมีความฉับไว รวดเร็ว คุ้มค่า ตอบความต้องการ นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะก้าวกระโดดของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน การเจริญเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก การเจริญเติบโตของตลาดธุรกิจ สมาร์ทโฟน ส่งผลให้ผู้บริโภคในปัจจุบันเกิดพฤติกรรม การสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ที่มีการขยายตัวและส่งผล ต่อกลไกการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การกระตุ้นพฤติกรรม การมีส่วนร่วม และการสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์ และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งมวล
สังคมออนไลน์ เปรียบเสมือนชุมชนเพื่อแสดงความคิดเห็นและเป็นเครื่องมือที่สร้างความรักความผูกพันระหว่างองค์กรกับกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินงานสื่อสารของแบรนด์ จึงมีความเปลี่ยนแปลงจากการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน สื่อวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร เป็นหลัก แต่ได้ปรับตัวเลือกใช้ สื่อดิจิทัลผ่านสังคมออนไลน์ อันเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอข้อมูล เชิงเนื้อหาขององค์กรและสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมาย
การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตประชากรของประเทศไทย
จากอัตราประชากรของประเทศไทยในรอบปี 2560 พบว่ามีการใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลมากถึง 86.5% การใช้งานบนอินเทอร์เน็ตนอกจากการใช้ Social Media, Search, Email และดูหนังฟังเพลงยังมีการซื้อสินค้าและบริการที่เข้ามาอยู่ในกลุ่ม 5 อันดับแรกของการใช้งานอินเทอร์เน็ตซึ่งก่อนหน้านี้อยู่อันดับ 8 ในปีที่ผ่านมา โดยมีผู้ใช้งานกว่า 50.8% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ไม่ใช่ใช้เพียงเพื่อความบันเทิงเท่านั้น
We Are Social เอเจนซี่วิจัยด้านโซเซียลมีเดีย หรือ Brand Buffet เป็นเว็บไซด์ที่ให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของวงการธุรกิจและการตลาดที่เกิดจากการปรับตัวทางธุรกิจในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสื่อดิจิทัล ซึ่งได้ทำการรวบรวมโฆษณาจากสื่อดิจิทัลทั่วโลก จากทีมงานการตลาดและโฆษณาที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ได้แสดงตัวเลขทางสถิติที่น่าสนใจหลายประเด็น เริ่มจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก พบว่าจำนวนผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลก มีจำนวนมากถึง 3.7 พันล้านคน จำนวนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ทคิดเป็น 50% ของประชากรทั่วโลก มีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือคิดเป็น 91% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมหาศาลเกินบรรยาย คำถามที่ตามมาคือว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เราสื่อสารไปนั้น ประสบความสำเร็จแล้ว หรือจะมีเครื่องมือ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ได้จากอะไร
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จการสื่อสารผ่านการใช้สื่อดิจิทัล
การที่เราจะมองดัชนีชี้วัดความสำเร็จการสื่อสารผ่านการใช้สื่อดิจิทัล ของในแต่ละแบรนด์นั้น หากจะใช้ตามดัชนีชี้วัด ในการวัดความสำเร็จไม่เพียงแต่การพัฒนาด้านเทคนิค หรือการเติบโตด้านการเข้าถึง การใช้งานเท่านั้น คงไม่เพียงพอ แต่ต้องรวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์บนเครือข่ายของสังคมดิจิทัล ด้วย จึงควรมีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อให้การขับเคลื่อน การสื่อสาร โดยมีแนวทางเบื้องต้น ต่อการใช้ดัชนี้ชี้วัดความสำเร็จของการสื่อสารผ่าน ช่องทางดังกล่าว ตามนี้
จำนวนยอดผู้เข้าชม
ประวัติการเข้าชม เป็นอีกวิธีที่ดูความสนใจของผู้คนในสังคมออนไลน์ ได้เป็นอย่างดี เพราะการแสดงผลข้อมูล ข้อมูลการใช้งานของ user จะเป็นความสนใจ ในเชิงปริมาณ เพียงแต่ว่า ครั้งแรกที่คลิปนั้นๆถูกเปิดดู ไม่ว่าจะดูจบหรือไม่จบ เปิดขึ้นมา 2 วินาที คลิปนั้นมันก็จะโชว์อยู่ใน ประวัติการเข้าชม
ยอดการกดไลค์ หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล ที่ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการกดไลค์หรือชื่นชม
- กดไลค์หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล เพราะชอบเนื้อหา น่าสนใจ หรือถูกใจ
- กดไลค์หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล เพราะมีความเกี่ยวข้อง
- กดไลค์ เพราะโพสนั้นทำให้ คิดถึงบางสิ่งบางอย่างที่มีความผูกพัน
- กดไลค์หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล เพราะรู้สึกว่าเรื่องราวนี้ มีผู้สนใจน้อยเกินไป
- กดไลค์หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล เพราะต้องการให้เพื่อน หรือสังคมออนไลน์รู้ว่า ยังอยู่ในสังคมนี้
- กดไลค์หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล เพราะถูกขอร้องให้ช่วย
- กดไลค์หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล บนโพสของตัวเอง เพราะต้องการให้เพื่อนๆ เห็นโพส บนหน้า Feed ของพวกเขา
- กดไลค์หรือชื่นชมบนสื่อดิจิทัล อย่างไม่ได้ตั้งใจ คือกดไปแบบ ไม่ได้คิดอะไรมาก หรืออาจจะเผลอกดโดยไม่ตั้งใจก็ได้
- กดไลค์ เพราะรู้สึกว่าเนื้อหาของโพสนั้น ช่างน่าเศร้า หรือน่าสลดใจเหลือเกิน
- คุณจึงช่วยกดไลค์ให้มีจำนวนไลค์เพิ่มมากขึ้น- คุณช่างจิตใจดีงามเหลือเกิน และแอบหวังลึกๆว่า คราวหน้าเวลาที่คุณโพส คงจะได้ไลค์ไม่น้อย จากเพื่อนของคุณ (ที่คุณมักจะไปช่วยกดไลค์)
การกดแชร์ หรือส่งต่อ
แน่นอนว่าพฤติกรรมของคนในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Face book YouTube หรือ Instagram หากถูกใจหรือ ซึ้งใจ ภาพ คลิบวิดิโอ ข้อความ โค้ดคำพูด ข่าวสาร เพลง เรื่องราวที่ชอบ หรือโดนใจก็มักจะส่งต่อ แบ่งปันหรือแชร์ ไปให้เพื่อนและผู้อื่นได้เห็นได้ดูเหมือนอย่างที่เห็น ซึ่งแน่นอนว่า ยอดผู้ชมจากการกดแชร์ และขยายต่อไปอย่างเรื่อยๆ นั้น มาจากการมี Content และรูปแบบการนำเสนอที่ดึงดูดความสนใจ มีความหลากหลาย
จะเห็นได้จากการปรับเปลี่ยนสื่อหลักที่ใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรในปัจจุบัน ที่ใช้สื่อดิจิทัลมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการสื่อสารในยุคปัจจุบัน สื่อดิจิตอลนั้นจะมีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดทิศทาง ซึ่งมีความติดต่อจากสื่ออื่น สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยียังคงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อ ดิจิทัล เข้ามามีบทบาทมากขึ้น องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน รวมถึงภาครัฐวิสาหกิจได้ใช้สื่อดิจิทัลในการประชาสัมพันธ์องค์กรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการหาดัชนีตัวชี้วัด ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ จึงเป็นสิ่งน่นำมาพิจารณาอีกครั้งว่า “ยอดชม Like ชื่นชอบ share” สามารถวัดความสำเร็จของการสื่อสารแบรนด์ ออนไลน์ ได้จริง
ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการจัดการสื่อสารและที่ปรึกษายุทธศาสตร์สื่อสารองค์กรชั้นนำ www.drphot.com
ขอบคุณรูปภาพ จากเพจ เสื่อร้องไห้, Wongnai, Slang A ho-lic