[envira-gallery id=”4490″]
[envira-gallery id=”4493″]
ถ้าให้กล่าวถึงอาหาร ทุกคนคงทราบเป็นอย่างดีเพราะเราต้องบริโภคอาหารเป็นประจำ และ รสชาติ หน้าตา ของอาหารเมนูนั้น จะทำให้เราเกิดอรรถรสได้อย่างไร คงไม่แปลกหากเราได้ชื่นชมอาหารจานนั้นและลิ้มรสด้วยความเอร็ดอร่อย สิ่งไหนที่จะทำให้เรามีความสุขกับการรับประทาน ถ้าไม่ใช่ รูป รส กลิ่น นั้นคือศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่ง ทำให้เพิ่มมูลค่าเมนูอาหารจานนั้น ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญของการเพิ่มมูลค่าอาหารนั้นก็คือศิลปะผ่านการออกแบบและการใช้ศาสตร์ของวัตถุดิบบนอาหาร
วันนี้ Memag Online ได้มีโอกาสมาพูดคุยกับ คุณสุทธิพงษ์ สุริยะ ( ขาบ ) นักปั้นแบรนด์สินค้าเกษตรและธุรกิจอาหาร ผู้คร่ำหวอดในวงการศิลปะและอาหารมากว่า 21 ปี เรามาทำความรู้จักกับคุณขาบกันเลยค่ะ
1คำถาม : update การทำงาน ณ ปัจจุบัน
ตอบ : ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด องค์กรที่ให้บริการด้านการสร้างภาพลักษณ์ รวมทั้งงานออกแบบแนวคิดคอนเซ็ปของแต่ละธุรกิจ (Concept Designer) ให้กับธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ( Farm & Food branding) ผลงานการออกแบบ ของผมเป็นที่ยอมรับเรื่องของมาตรฐานสากลทั้งสไตล์การคิดงานและมององค์ประกอบอย่างรอบด้านด้วยความเข้าใจและเข้าถึงแก่น เพราะเคยผ่านงานหลากหลายบทบาท ทั้งงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง อาทิ เคยทำงานบริษัทโฆษณา ทำงานสื่อสิ่งพิมพ์อาหารแมกกาซีน และหนังสือเล่ม เป็นนักเขียน นักการตลาด นักสร้างและปั้นแบรนด์อาหาร กรรมการตัดสินการประกวดอาหารและประกวดบรรจุภัณฑ์อาหาร นักออกแบบแนวคิดร้านอาหารและร้านโชว์ห่วย นักปรุงอาหาร พิธีกรรายการอาหาร และส่วนตัวชื่นชอบศิลปะแนวไลฟ์สไตล์ ฯลฯ โดยเปิดให้บริการงานที่ปรึกษาด้านสินค้าเกษตรและธุรกิจอาหารอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร (ภาพนิ่ง +วีดีโอ) เกี่ยวกับธุรกิจสื่อโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
2 คำถาม: ช่วยเล่าประวัติ ที่มาที่ไปที่ผ่านมา
ตอบ : เริ่มต้นชีวิตผมเกิดและเติบโตอยู่ต่างจังหวัดมาก่อน คุณพ่อขายสินค้าเกษตร จึงชื่นชอบวิถีการเกษตรกับธรรมชาติครับ สนใจงานศิลปะเมื่อได้มีโอกาสมาเรียนในกรุงเทพ ก็ยังชอบในศิลปะอยู่ ชีวิตเริ่มต้นได้ทำงานที่ชอบ แต่ว่าในก้นบึ้งของหัวใจ มันมีคำว่า “ศิลปะ” อยู่ ซึ่งมันเหมือนมันจะคลุกกรุ่นและกำลังจะออกมา
“วันหนึ่งได้มีจังหวะและโอกาส แสดง “ผลงานทางศิลปะ” ออกมา ซึ่งไม่ได้เรียนศิลปะมา และมีคนเห็น และคนก็รู้สึกชื่นชอบในผลงานโชว์ของเรา ครั้งแรกเลย มันคือการเปิดทางครั้งแรก ซึ่งการแจ้งเกิดในครั้งนั้นค่อนข้างจะครบครัน ทั้งการตกแต่งบ้าน การทำอาหาร และมีปาร์ตี้ในบ้านหลังนั้น พอคนได้มาเห็น ทุกคนร้องว้าวบอกว่าชอบ นี่คือ การเปิดต้อนรับเข้าสู่แวดวงงานออกแบบ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา น่าจะราวๆ 25 ถึง 30 ปีก็ว่าได้”
3คำถาม : เมื่อผมโชว์ผลงานชิ้นโบว์แดงออกไป ต่อจากนั้น มีความเป็นไปอย่างไรจึงกลายมาเป็น ขาบ สตูดิโอ ทุกวันนี้
ตอบ : หลังจากคนที่ชื่นชอบผลงานได้แนะนำออกไป ก็มีบรรดาคอลัมน์ ต่างๆ ในแมกกาซีน ไม่ว่าจะเป็นแมกกาซีนด้านอาหาร แมกกาซีนด้านการตกแต่ง แมกกาซีนด้านแฟชั่นและสไตล์ ก็ติดต่อขอสัมภาษณ์และลงหนังสือพิมพ์ รวมทั้งรายการทีวีต่างๆ ติดต่อมาเยี่ยมชมที่บ้านและถ่ายทำรายการอาหารเมนูต่างๆ มากมาย ต่อมาก็ได้มีโอกาสได้ทำตำราอาหาร เป็นของตัวเอง เป็นผลงานตำราอาหารเล่มแรกในชีวิต น่าจะล่วงเลยมา 15 ปี ได้แล้ว
4คำถาม : ตำราอาหารเกี่ยวกับอะไร ?
ตอบ : เป็นตำราอาหาร food and travel laos เป็นสารคดีอาหารหลวงพระบาง หลังจากนั้นก็จะเป็นอาหารในแถบอินโดจีนเรื่อยมา ต่อด้วยตำราอาหารสุขภาพ อาหารกับการท่องเที่ยว สารพัดอย่างที่เป็นเรื่องราวของอาหาร และรวมทั้งหนังสือคู่มือธุรกิจอาหารที่รับจ้างผลิตให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและธุรกิจการเกษตร เบ็ดเสร็จไม่น่าต่ำกว่า 50 เล่ม น่าจะเป็นคนที่ทำตำราอาหารมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้
“ความยากอยู่ที่การเริ่มต้น พอทำไปเรื่อยเรื่อย ทำให้มีประสบการณ์และมีความชำนาญมากขึ้น ทำให้เข้าใจเห็นภาพในมุมกว้าง เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น ก็เริ่มสะสม ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ จากคนที่เคยทำแค่จัดอาหาร ก็เริ่มขยับขยายในเรื่องของมุมมอง วิธีการ มองภาพผ่านเลนส์ วิธีการจัดองค์ประกอบของภาพอาหาร วิธีการจัด Lay out ของหนังสือ และวิธีการลำดับเรื่อง การขยายความของภาพ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นเรื่องกระบวนการสื่อสารที่สะสมมา มันก็เลยทำให้หนังสือที่ผลิตออกไป มีผู้อ่านนำไปเผยแพร่ในช่องทางอินเตอร์เน็ต เว็ปต่างประเทศมากมาย รวมทั้งคนที่อยู่ในแวดวงของดีไซเนอร์ มองหนังสือของผมไม่ใช่เป็นเพียงแค่ตำราอาหาร แต่มันเป็นหนังสือดีไซน์และไลฟ์สไตล์ ซึ่งมันยากมากที่จะมองว่าหนังสืออาหาร ถูกจัดอยู่ในหมวดของดีไซน์ จริงๆ แล้วอาหารมันก็คือศิลปะอย่างหนึ่ีง”
[envira-gallery id=”4500″]
[envira-gallery id=”4497″]
ล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2561 ที่จะมาถึงนี้ หนังสืออาหารที่ผมออกแบบจะเข้าชิงรางวัลชนะเลิศของโลก 4 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้ ตำราอาหารงานโครงการหลวง 48 เข้าชิง 2 ประเภทรางวัลระดับโลก คือ ประเภท The local category และประเภท Asian – Published in Asia หนังสือประเภทธุรกิจการเกษตรและอาหาร HONEY : SUPHA BEE FARM สุภาฟาร์มผึ้ง อ. แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เข้าชิง 1 ประเภทรางวัลระดับโลก คือ ประเภท The health and nutrition category เมนูอาหารร้าน SUK CAFE ร้านกาแฟเล็กๆ แต่มากไปด้วยคอนเซ็ปท์และดีไซน์แบบเต็มๆ เข้าชิง 1 ประเภทรางวัลระดับโลก คือ ประเภท Design ซึ่งนับว่าเป็นประเภทสุดยอดที่สุดของที่สุดของโลกดีไซน์ก็ว่าได้ ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คือรางวัลออสการ์ คล้ายๆกับ ตำแหน่ง นักแสดงนำยอดเยี่ยมแห่งปี อย่างไงอย่างงั้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cookbookfair.com)
5คำถาม และรางวัลที่ผ่านมาเห็นว่า ขาบ สตูดิโอ ได้รางวัลเยอะมาก รางวัลอะไรและที่ภูมิใจที่สุด ?
ตอบ : ต้องบอกว่า เคยได้รางวัลเกียรติยศชนะเลิศของโลกจากเวทีนี้มาแล้ว 5 รางวัลด้วยกัน ถือเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียว ซึ่งในเวที Gourmand World Cookbook Awards ก็คือ เวทีประกวดงานตำราอาหารและสื่อสิงพิมพ์อาหารและสินค้าเกษตรของโลก จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1995 ที่สำนักงานใหญ่เมืองมาดริด ประเทศสเปน จัดโดยองค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติและสดุดีพร้อมสนับสนุนให้บุคคลหลากหลายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและอาหาร เพื่อนำเสนอผลงานให้เป็นที่ยอมรับในสากล และยกระดับมาตรฐานโลก โดยร่วมเฟ้นหาสุดยอดระดับบุคคลของโลกในแต่ละสาขา คล้ายกับเวทีประกวดรางวัล “Oscars” เป็นเวทีให้บุคคลเหล่านี้ได้มีโอกาสมารู้จักกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระดับสุดยอดเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ดีไซน์สิ่งใหม่ๆ และนวัตกรรมชั้นเลิศในด้านอาหารและสินค้าเกษตรสู่สังคมโลก และมีการจัดงานประกวดขึ้นทุกๆปีในหลากหลายประเทศเจ้าภาพ ส่วนมากจะจัดงานประกวดในประเทศแถบยุโรป ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันปี 2018 ที่จัดประกวดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ประเทศจีน รวมระยะเวลาที่จัดงาน 23 ปี โดยรางวัลนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกวดจากทั่วทุกมุมโลกส่งผลงานเข้าแข่งขัน ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดและเปิดรับต้นฉบับทุกๆภาษา เพราะภาษาคือสากล ซึ่งกลุ่มที่จะส่งเข้าประกวดจะประกอบไปด้วย ประเภท อาหาร, ไวน์และสินค้าเกษตร ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจะมีทั้ง งานสื่อสิ่งพิมพ์, งานดิจิตอลและรายการทีวีทำอาหาร แต่ละปีจะมีผู้เข้าประกวดจากทั่วโลกกว่า 205 ประเทศ ที่ส่งผลงานเข้ามาร่วมคัดเลือกที่ประเทศสเปน ในแต่ละปีประมาณ 8,000 – 10,000 ผลงาน ขึ้นอยู่กับแต่ละปี โดยผู้ที่ส่งผลงานจะประกอบไปด้วยบุคคลดังนี้ เจ้าของกิจการต่างๆ อาทิ (เจ้าของฟาร์มเกษตร, ไร่องุ่นทำไวน์, โรงงานทำขนมปัง, เจ้าของธุรกิจด้านอาหาร เป็นต้น) นักเขียน, เชฟ, ช่างภาพ, กราฟฟิกดีไซเนอร์, นักวาดภาพประกอบ, ฟู้ดสไตลิสต์, นักปั้นแบรนด์, นักโภชนาการ, สื่อสิ่งพิมพ์อาหาร เป็นต้น) มันเป็นเวทีที่ยิ่งใหญ่และระดับโลกมากๆ แต่ว่าในฐานะประเทศไทยบอกได้เลยว่ามีผมคนเดียวที่ได้รับรางวัล แล้วในส่วนตัวลึกๆ จริงๆรู้สึก สมเพชตัวเองนะ รางวัลระดับโลกแต่สำหรับในประเทศไทย ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่โดดเด่นทางด้านอาหาร และอาหารไทยเป็นอาหาร ที่ติด 1 ใน 5 ของโลก แต่ว่าในเวทีโลก การสื่อสารสิ่งพิมพ์อาหารไม่มีใครที่ผงาดอยู่บนเวทีโลก มีแค่ผมอยู่คนเดียว ซึ่งจริงๆ มันควรจะมีมากกว่านั้นเมื่อเทียบกับสัดส่วน
แต่สำหรับบางประเทศ อาหารของเขาไม่ได้ติดอันดับเลย แต่เวลาเขาไปเข้าชิงเวทีระดับโลกประเทศเขามีผู้ให้การสนับสนุน บุคคลเหล่านี้ที่ทำงานด้วยความตั้งใจและหัวใจ เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นสุดยอดของโลก หลายประเทศเขาส่งเสริมและสนับสนุนบุคคลเหล่านี้ แต่สำหรับประเทศไทยไม่ได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมซึ่งมันเป็นอะไรที่มองแล้ว มันผิดสังเกตเหมือนกัน ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ผลิตอาหารอร่อยล้ำติดชั้นนำของโลก แต่ที่สื่อสารมีผมอยู่คนเดียวที่ได้รางวัล มันน้อยเกินไป ซึ่งแทบจะเรียกว่าไม่ถึง 1% ของโลกเอาเสียเลย
6คำถาม: ได้มุมมองอะไร เกี่ยวกับธุรกิจนี้?
ตอบ: คือจะบอกว่าประเทศไทย เป็นประเทศทางเกษตรกรรมและอาหาร แต่ประเทศไทย ทำเรื่อง สินค้าอาหารแปรรูปส่งออกนอกเยอะมากและส่งร้านอาหาร ส่งเชฟผู้ปรุงอาหาร รวมทั้งส่งวัตถุดิบอาหารออกไปต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่มาก และคนทั่วโลกก็รู้จักอาหารไทยเป็นอย่างดี ฉะนั้นผมจึงมองว่าอาหารมันมีความสำคัญมาก ผมมาทำธุรกิจด้านศิลปะก็อยากจะขับเคลื่อนวงการธุรกิจอาหารให้เข้าถึงได้ง่าย และเป็นศิลปะที่เห็นแล้วสามารถนำเสนออย่างเป็นจริงได้ ทุกวันนี้ที่เห็นในวงการสื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารมันมีสิ่งผิดพลาดอยู่มาก
อันดับแรกคือ ภาพที่นำเสนอ มันสวยเวอร์เกินไป เกินความจริง ซึ่งอันนี้ในโลกนี้เขาไม่ทำกันอย่างนี้แล้ว แต่ประเทศไทยยังคงทำแนวแบบนี้เรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาหารที่ปรุงออกมาจะต้องเป็นสิ่งที่ปลดปล่อยและก็เป็นเรื่องของชีวิต อาหารต้องไม่สวยเพอร์เฟ็คจนเกินไป แต่ต้องมีการกระจัดกระจายคล้ายกับนักปรุงอาหารชาวอังกฤษหนุ่มวัยรุ่นที่เป็นไอดอลของวัยรุ่นทั่วโลก Jamie Oliver ที่เน้นคอนเซ็ปอาหารสดใหม่มาจากธรรมชาติ เราจะต้องนำเสนออาหารให้สวยงาม โดยการเลียนแบบธรรมชาติ แต่เวลาเราเอาวัตถุดิบมาทำอาหารเราฝืนกฎธรรมชาติ ทำให้อาหารมันติดอยู่ในกรอบ ซึ่งวัตถุดิบที่อยู่ตามธรรมชาติ มันไม่เห็นจะมีกรอบ มันมีอิสระด้วยตัวของมันเอง เราจะต้องวิเคราะห์ให้เข้าถึงแก่นเบื้องต้นให้ได้ จากนั้นค่อยนำเสนอเพื่อการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา ซึ่งเวลาที่เราสื่อสารอาหารคนเรามักจะนำเสนอเน้นให้ดูสวยเกินความเป็นจริง นี่คือสิ่งที่ผิดพลาดมหันต์ของอุตสาหกรรมอาหารในบ้านเรา
7คำถาม คิดยังไงกับโลกธุรกิจตอนนี้ จะเข้ามาสู่โลกดิจิทัลเต็มรูปแบบ แล้วมีผลกระทบกับธุรกิจและตำราอาหารอย่างไร
ตอบ จริงๆ แล้วคือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารหรืออะไรก็ตามที่ต้องมองอันดับแรกคือยุคดิจิทัลมันมาแล้ว แต่ในขณะเดียวกันเราต้องสร้างองค์ความรู้ ในฐานะที่ผมเป็นนักเขียน เราก็ต้องสร้างองค์ความรู้และต้องสร้างการเป็นผู้นำ ฉะนั้นในเรื่องของการนำเสนออาหารออกไปสู่สายตาสาธารณชน เราต้องมีหน้าที่คือ นำเสนอเรื่องของ ไลฟ์สไตล์ วิถีชีวิต ศิลปะ เหมือนเดิม เพียงแต่ว่างานที่เรานำเสนอออกมา ดีไซน์ต้องสวยงามมาก่อน จึงมักจะถูกนำไปลงในโซเชียลมีเดีย ก็ยังถือว่าเป็นผลงานของนักเขียนคงเดิม เพียงแต่ว่าเปลี่ยนไปเป็นสื่อดิจิทัล แต่ในขณะเดียวกันในเรื่องของสื่อสิ่งพิมพ์ มันก็ยังคงอยู่เพียงอาจจะปรับเปลี่ยนจากแมกกาซีน เป็น cook book หรือเปลี่ยนไปในรูปแบบของการค้ารูปแบบต่างๆ เวลาผู้ประกอบการอาหาร ไปออกงานแฟร์ ต่างประเทศ สิ่งที่เขาจะต้องมีคือสิ่งพิมพ์ที่เป็นเรื่องของ Company Profile เล่มเล็กๆ เวลาแจกลูกค้าที่มาเยี่ยมชมที่บูท สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีในโลก ไม่เคยมีใครแจกซีดี เพราะซีดีแจกไปคนก็ไม่ได้เปิดดู แต่ว่าแผ่นพับสามารถเปิดดูอ่านได้ ต้องนำเสนอผลงานให้เข้าสู่โลกธุรกิจ ซึ่งรูปแบบนี้มันจะอยู่ได้ตลอดไปและจะไม่หายไปตามกาลเวลา
8คำถาม มองอนาคตของขาบ สตูดิโอ (Farm & Food Branding) เป็นยังไง?
ตอบ งานที่ทำในตอนนี้ มีอยู่ 2- 3 ส่วน ส่วนที่ทำธุรกิจก็ยังมีความสนุกเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ท้าทาย ถือเป็นวิชาชีพและความชอบเฉพาะตัวด้วยครับ การที่คนเราประสบความสำเร็จในอาชีพ มันเป็นสิ่งที่สุดยอดในชีวิตแล้ว และเราก็ควรเอาสิ่งที่เราประสบความสำเร็จไปให้ความรู้กับผู้อื่น การเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับคนอื่น มีอยู่ 2 อย่าง คือ อาจารย์พิเศษ สอนบรรยายให้ความรู้กับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ อีกส่วนหนึ่งก็คือ นำวิชาชีพและองค์ความรู้ไปทำงานให้กับมูลนิธิต่างๆ เช่น ตอนนี้ที่ทำก็คือเป็นอาสาสมัครมูลนิธิโครงการหลวง ปีที่ 13 และตอนนี้ที่กำลังทำอยู่ คือการปรับบ้านโบราณบ้านเกิดของผมที่จังหวัดบึงกาฬในนาม “พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ” โดยเอาเรื่องของศิลปะไปจัดการอย่างมีระบบเพื่อให้เข้ากับวิถีเกษตรชุมชนให้กลายแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน แล้วก็เปิดตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าเกษตรของชุมชนโดยมีวัตถุประสงค์ให้คนมาเจอกันและก็มีรายได้เกื้อกูลกัน แต่สิ่งที่โดดเด่นคือเรื่องของศิลปะ นำระบบดีไซด์เข้าไปจัดการให้ดูสวยงามและมีอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งการจะทำแหล่งท่องเที่ยวหรืออะไรก็ตาม เป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นได้เพราะคนไปจัดการแล้วจะทำให้ชุมชนเกื้อกูล เรื่องของวิถีความเป็นอยู่ ที่ดั้งเดิมให้คนอยู่ใกล้ชิดและอบอุ่นกัน โดยมีแนวทางเกษตรเป็นตัวเชื่อมทำให้เกิดความยั่งยืน
9คำถาม ธุรกิจของ Karb Studio มีการปรับตัวอย่างไร กับโลกออนไลน์
ตอบ : การทำธุรกิจในโลกออนไลน์ตอนนี้ที่ผมทำอยู่ก็คือ มี Fanpage คือ Karb Studio ทุกสัปดาห์จะต้องประชาสัมพันธ์ โดยทุกครั้งที่ทำงานให้ลูกค้าก็จะนำงานของลูกค้าชิ้นนั้นมาเขียน Storytelling เป็นการเล่าเรื่องจากภาพ แล้วก็มีหน้าที่โปรโมต ตอนนี้เริ่มมีคนโทรมาสอบถาม เข้ามา inbox คือเป็นการสื่อสารแบรนด์ที่ทำให้เข้าถึงได้ทุกอย่าง ด้วยการเอาดีไซน์มาเป็นตัวเดินเรื่อง เหมือนกับสมัยที่ผมทำงานเป็นนักเขียน มันก็ทำแบบเดียวกัน แต่แค่เปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลก็เท่านั้นเอง
10คำถาม : นอกจาก Karb Studio แล้ว ยังมีเพจอื่นอีกไหม?
ตอบ : มี Facebook ส่วนตัว Suthipong Suriya นอกจากนั้นยังมีเพจ karb style เวลาทำธุรกิจอะไรก็ตามหากอยากได้พื้นที่สื่อในดิจิตอลทุกครั้ง เวลาเขียนอะไรออกไปจะต้องมีเครื่องหมาย แฮชแท็ก (#) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ ทั้งหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอาหาร ธุรกิจด้านสไตล์ อะไรก็ตามหลังจากนั้นพอเราไป search ชื่อเรา มันจะไป search ในโลกออนไลน์ แปลว่า เราจะไม่มีทางตกขอบเวที มีพื้นที่ของเรามากพอสมควร ฉะนั้นหากใครก็ตามที่ไป search ชื่อ คำว่า Karb Studio หรือ Suthipong Suriya มันเหมือนการแพร่กระจายไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็น ภาพนิ่ง วีดีโอ หรือข้อความต่างๆ เยอะแยะไปหมดเลย นี่คือเป็นวิธีที่จะทำให้ธุรกิจของเราอยู่ในโลก ดิจิทัลได้ยั่งยืนตลอดไป ฉะนั้นทุกครั้งที่ทำงานสำคัญที่สุดคือ การทำงานให้ลูกค้าอย่างมีคุณภาพที่สุดเพื่อให้ผลงานออกมาดีเลิศ นั่นคือการโฆษณาที่ดีที่สุดแล้ว
11คำถาม : คติประจำใจ อย่างไร ถึงอยู่จนถึงปัจจุบันได้
ตอบ คติประจำใจทุกวันนี้คือ simply the best เรียบ…แต่ไม่ง่าย ใช้ชีวิตให้เป็น คือถ้าหากใครเห็นผมเมื่อ 20 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน และเห็นวิธีการทำงานของผม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตส่วนตัวก็ยังคงยึดรากเหง้ามาจากอีสาน อาหารการกินก็แบบเดิม หรือแม้แต่ในช่วงขึ้นสูงสุด ก็ยังคงใช้ชีวิตรูปแบบเดิมๆ เราต้องรู้ว่าคุณค่าชีวิตคืออะไร อย่ามัวหลงระเริง เพราะชีวิตของคนมีขึ้นได้สูงสุดและย่อมมีลงได้ต่ำสุดเช่นกัน ฉะนั้นเราจะต้องไม่ไปลุ่มหลงกับโลกมายา เพราะหากไปลุ่มหลงกับโลกมายา เมื่อวันหนึ่งมันตกดิ่งแล้วชีวิตจะเจ็บปวดมาก แต่สำหรับผมใช้ชีวิตเดินทางสายกลางยึดธรรมะคือธรรมชาติหล่อเลี้ยงใจ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตส่วนตัว ผลงานต่างๆ ที่ออกแบบ รูปแบบมันจะคล้ายๆ กันหมด และเมื่อไปค้นรากเหง้าตั้งแต่อดีตเริ่มจากบรรพบุรุษ ต้นตระกูลของครอบครัว เราไม่เคยมีประวัติที่ด่างพร้อยเลย เพราะอินเตอร์เน็ตจะครอบครองทั่วโลกจากนี้ต่อไป และเมื่อวันหนึ่งเราไม่อยู่ชื่อของเราจะถูกจารึกไว้ เป็นประวัติศาสตร์บุคคลที่มีส่วนร่วมในการสร้างชื่อเสียงให้กับชาติไทย
KARB STUDIO บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด
9/20 ซอยอ่อนนุช 46 ถนนอ่อนนุช
แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร 02-001-2764 มือถือ 081-612-8853
E-mail:Karbstudio1@yahoo.com www.karbstyle.com
Dig you know?
ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
1.เป็นพิธีกรและหุ้นส่วนธุรกิจรายการ FOOD DESIGN by KARB ทางช่อง HOME Channel (บริษัท โฮม ทีวี คอร์ปอเรชั่น จำกัด) โดยมีวัตถุประสงค์ นำทายาทหรือผู้ประกอบการแบรนด์สินค้าอาหารต่างๆ มาร่วมสาธิตทำอาหารแบบมีสไตล์และคอนเซ็ปที่เน้นรูปแบบเรียบง่าย SIMPLY THE BEST เพื่อสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารมีความโดดเด่นด้านการสร้างแบรนด์ ทั้งสินค้าและตัวบุคคล
2.วิดีโอพรีเซ็นต์ Business Cooking Show โดย KARB STUDIO ได้ร่วมหุ้นส่วนกับทีมงานของบริษัท นาฏะกัมปานี จำกัด ซึ่งเป็นทีมผลิตรายการ Living in Shape ช่อง 3 โดยมีวัตถุประสงค์ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าธุรกิจอาหารมานำเสนอผ่านการทำอาหารอย่างมีสไตล์สวยงาม โดยพิธีกร 2 หนุ่ม คือ คุณขาบ – สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์, กูรูนักออกแบบและสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจอาหาร พร้อมด้วย คุณเส –จารุทัศ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นักพัฒนาสูตรและค้นคว้าผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป มูลนิธิโครงการหลวง เชียงใหม่ ซึ่งรูปแบบเน้นผลิตวิดีโอให้กับผู้ประกอบการอาหารเพื่อนำไปเผยแพร่ เช่น งานเทศกาลอาหารต่างๆ หรืองานโฆษณาที่มุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรของท่าน
คอร์สฝึกอบรม
KARB STUDIO เปิดคอร์สอบรมให้กับบุคคลทั่วไปและ ผู้ที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร เปิดมุมมองและให้แนวคิดความเป็นมาตรฐานสากล ในเรื่องของการออกแบบสร้างภาพลักษณ์ให้อาหารมีความโดดเด่น โดยเปิดคอร์สอบรมให้กับแต่ละองค์กรหรือแต่ละหน่วยงานธุรกิจอาหาร หลักสูตร Commercial Food Styling & Branding สำหรับธุรกิจที่ต้องการปั้นแบรนด์ใหม่หรือรีแบรนด์เดิมให้มีภาพลักษณ์ใหม่
บทบาทหน้าที่
วิทยุ
– เป็นผู้ดำเนินรายการเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกิน “ ครัวของขาบ ” ทาง FM 97
สื่อสิ่งพิมพ์
– คอลัมนิสต์ประจำ ให้กับหนังสือผู้ส่งออก, ชุมทางอาชีพ, แฟรนไชส์โฟกัส&โอกาสธุรกิจ,หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, Voice Bangkok Website, SME THAILAND,CELEB THAILAND, COMPASS CHIANGMAI ฯลฯ
– คอลัมนิสต์รับเชิญ ให้กับแมกกาซีนแนวอาหาร ตกแต่งไลฟ์สไตล์ และธุรกิจอาชีพ
– กูรูรับเชิญรายการทีวี ให้กับรายการทีวีช่องต่างๆด้านธุรกิจอาหารและไลฟ์สไตล์
– เจ้าของสูตรอาหารรับเชิญ เป็นเจ้าของสูตรอาหารจำนวน 2 ใน 84 สูตรจากตำราอาหาร
ข้าวกล้องเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในนามของมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
-ล่าสุด คอลัมนิสต์ วารสารมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดจัดทำโดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ตำราอาหาร
-เป็นเจ้าของผลงานเขียนตำราอาหารและหนังสือประเภทธุรกิจอาหารออกมาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 40 เล่ม รวมทั้งรับจ้างผลิตหนังสือให้กับผู้ประกอบการอาหาร
พรีเซ็นเตอร์
-งานโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ ผลิตภัณฑ์เตาอบไมโครเวฟ ยี่ห้อ SAMSUNG
วิทยากรรับเชิญ รับเชิญบรรยายให้ความรู้กับองค์กรต่างๆ อาทิ
– กิจกรรมงานสัมมนา Simple is The Best in Phayao “การพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บริการทางการท่องเที่ยวพะเยาสู่สากล” จัดโดยมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับเทศบาลเมืองพะเยา
– กิจกรรมการเสวนา “แนวทางส่งเสริมและพัฒนางานเบญจรงค์” จัดโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)
– กรมส่งเสริมการค้า กระทรวงพาญิชย์ THAIFEX-World of Food ASIA 2016
– กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาญิชย์ THAIFEX-World of Food ASIA 2012ในหัวข้อเรื่อง “The Hottest Ideas for Food Presentation”
– สมาคมเชฟและพ่อครัวแห่งเมืองพัทยาและภาคตะวันออก
– งานมหกรรมครบเครื่องเรื่องอาหารและอุปกรณ์ งาน MakroHoReCa
– หน่วยงานฝึกอบรม วิทยาลัยดุสิตธานี
– โครงการหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
– หน่วยงานฝึกอบรม สมาคมโรงแรมไทย
– งานเวทีธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และสปาสัญจร หัวหิน-ชะอำ
– งานอาหารนานาชาติเชียงใหม่ Chiangmai International Food Festival 2011
– สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ในหัวข้อ “อาหารไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก”
– ร่วมเสวนา “รสชาติ+รสนิยม: โอกาสทางธุรกิจอาหารยุคใหม่” จัดโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC เชียงใหม่
– โครงการอบรมทักษะอาชีพ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
– ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมกับทาง OKMD ( สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ) เพื่อร่วมกิจกรรมเทศกาลงานออกแบบ Chiang Mai Design Week 2014
– โครงการอบรมการออกแบบเพื่อธุรกิจอาหาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– ร่วมเสวนา “การสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจอาหารและสินค้าเกษตรกรรม” จัดโดยนิตยสาร SME Thailand ในงาน SME Big Knowledge Day 2015
– ร่วมเสวนา “ดีไซน์สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าเกษตรกรรม” จัดโดยนิตยสารเส้นทางเศรษฐี
– วิทยาการรับเชิญ เรื่อง “การสร้างแบรนด์ธุรกิจอาหาร” ให้กับศูนย์ Business center ของธนาคารไทยพาณิชย์
-ล่าสุดได้รับคัดเลือกติด “ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรม”( 100 FACES OF THAILAND’S INNOVATION INSPIRERS )จัดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– อื่นๆ อีกมากมาย
อาจารย์พิเศษ
-รับเชิญบรรยายให้ความรู้กับองค์กรภาครัฐบาลและภาคเอกชน อาทิ
วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา
-คณะบริหารธุรกิจ (สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร)
มหาวิทยาลัยมหิดล
– หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร) วิทยาลัยการจัดการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์(สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (ระดับหลักสูตร ป.โท,ป. เอก)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอน 2 หลักสูตร คือ ภาคฤดูร้อนและภาคปกติ
-คณะสหเวชศาสตร์ (หลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (สาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– คณะเกษตร ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ)
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
– คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี(สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหารระดับหลักสูตร ป.ตรี,ป. โท)
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
-คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจ (สาขาการจัดการโรงแรม)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
– คณะอุตสาหกรรมเกษตร (หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร)(หลักสูตรปริญญาโท สาขาแคเทอริ่ง)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่– คณะมนุษยศาสตร์ (สาขาบ้านและชุมชน)
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
– สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร (สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร)
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
– คณะเกษตรศาสตร์ (สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจอาหารและสิค้าเกษตรแปรรูป)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ภายใต้การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐบาลกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
มหาวิทยาลัยรังสิต
– วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ (สาขาวิชาการโรงแรมและภัตตาคาร)
เลอ กอร์ดอง เบลอ ดุสิต
– โรงเรียนสอนการประกอบอาหาร (หลักสูตรวิชาครัวไทย)
โครงการฝึกอบรม
– หลักสูตร “ ผู้ประกอบการอาหารไทยอย่างมืออาชีพ ”
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
– หลักสูตร “ นักลงทุนรุ่นเยาว์ ” บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT 8)
– หลักสูตร “ ธนาคารคู่บ้านคู่เมือง ” ธนาคารกรุงเทพ (SIP 19)
– หลักสูตร “นักการตลาดรุ่นเยาว์” บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด ( รุ่นที่ 8)
กิจกรรมและงานด้านสังคม
– คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 48”
– คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 47”
– คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 46”
– คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 45”
– คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 44”
– คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 43”
– คณะอนุกรรมการฝ่ายสาธิตการประกอบอาหารของมูลนิธิโครงการหลวง “งานโครงการหลวง 42”
– คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดบรรจุภัณฑ์อาหาร กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
THAIFEX 2010
– คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดอาหาร Food Design สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA
– คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดแข่งขันการปรุงอาหารงาน MakroHoReCa
– คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดการใช้อุปกรณ์สินค้าประเภทเครื่องครัว ZWILLING J.A. HENCKELS
– คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดแข่งขันทำอาหาร Mouth Watering Arts โรงแรม The Library เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
– คณะกรรมการตัดสิน การประกวดแข่งขันของบรรดาเชฟ รายการทำอาหารชื่อดัง Iron Chef ช่อง 7
– ผู้ทรงคุณวุฒิ งานประชุมเสนอความคิดเห็นแนวทางและโอกาสในการเข้าสู่ธุรกิจอาหารและแฟชั่น จัดโดยสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้หรือ OKMD และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดภาพถ่ายการตกแต่งอาหารจัดโดย JetRaDar
-คณะกรรมการตัดสิน งานประกวดรางวัล “RICE PLUS AWARD 2018 : ข้าว…ก้าวใหม่”
จัดโดย กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
-ล่าสุดกำลังจัดทำ “พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จังหวัดบึงกาฬ” ซึ่งเป็นบ้านเกิดโดยนำบ้านไม้เก่าแก่อายุกว่า 50 ปี มาดีไซน์เพื่อสร้างเป็นต้นแบบของชุมชนอีสาน ให้คนได้มาศึกษาและถ่ายทอดแนวคิดของครอบครัว ซึ่งเป็นแนวทางที่แต่ละครอบครัวเมื่อมาสัมผัสจะสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงกับแต่ละครอบครัว ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์คุณค่าและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน โดยเน้นงานด้านเกษตรกรรมและอาชีพเสริมของชุมชนในละแวก
FARM & FOOD BRANDING SERVICES
- Farm & Food Concept & Design
- Restaurant & Shop Design
- Corporate Food Branding
- Food Packaging Design
- Farming Storyteller Concept
- Food Publication & Layout Design
- Food Menu Design
- Food Styling Training Course
- Commercial Food Styling
- Styling Cooking Show
- Professional Food Photography
- Recipe Development & Food Writing
หมายเหตุ ติดตามผลงาน KARB STUDIO ได้ที่
http://www.facebook.com/KarbStudio
http://www.youtube.com/user/suthipong suriya
http://www.google.com/KARB STUDIO
คำถาม : update การทำงาน ณ ปัจจุบัน
ตอบ : ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด องค์กรที่ให้บริการด้านการสร้างภาพลักษณ์ รวมทั้งงานออกแบบแนวคิดคอนเซ็ปของแต่ละธุรกิจ (Concept Designer) ให้กับธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ( Farm & Food branding) ผลงานการออกแบบ ของผมเป็นที่ยอมรับเรื่องของมาตรฐานสากลทั้งสไตล์การคิดงานและมององค์ประกอบอย่างรอบด้านด้วยความเข้าใจและเข้าถึงแก่น เพราะเคยผ่านงานหลากหลายบทบาท ทั้งงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง อาทิ เคยทำงานบริษัทโฆษณา ทำงานสื่อสิ่งพิมพ์อาหารแมกกาซีน และหนังสือเล่ม เป็นนักเขียน นักการตลาด นักสร้างและปั้นแบรนด์อาหาร กรรมการตัดสินการประกวดอาหารและประกวดบรรจุภัณฑ์อาหาร นักออกแบบแนวคิดร้านอาหารและร้านโชว์ห่วย นักปรุงอาหาร พิธีกรรายการอาหาร และส่วนตัวชื่นชอบศิลปะแนวไลฟ์สไตล์ ฯลฯ โดยเปิดให้บริการงานที่ปรึกษาด้านสินค้าเกษตรและธุรกิจอาหารอย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร (ภาพนิ่ง +วีดีโอ) เกี่ยวกับธุรกิจสื่อโฆษณาและการประชาสัมพันธ์