เมื่อเร็วๆนี้ ม.ล. ปริยาดา ดิศกุล (กลาง) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน วันครอบครัวชะ-ชิ้ง โดยพรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น โดยมี มร. อามัน โชวลา (ขวาสุด) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย และ มร. มาร์ค แฟนซี (ซ้ายสุด) กรรมการบริหาร พรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น ร่วมพิธีเปิด ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กิจกรรมวันครอบครัวชะ-ชิ้ง โดยพรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปลูกฝังความรู้ และทักษะการจัดการเงินอย่างชาญฉลาดสำหรับเยาวชนไทย ภายใต้ 4 แนวคิดหลัก ได้แก่ การหารายได้ การเก็บออม การใช้จ่าย และการแบ่งปัน ผ่านกิจกรรม และเกมที่สนุกสนาน พร้อมตัวการ์ตูนสมาชิกวงดนตรีชะ-ชิ้งทั้ง 6 ที่มาร่วมสร้างรอยยิ้มให้แก่เด็กๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์
บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)และพรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น (Prudence Foundation) องค์กรการกุศลในเอเชียของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียล จัดงาน “Cha-Ching Family Day by Prudence Foundation” (วันครอบครัวชะ-ชิ้ง โดยพรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปลูกฝังความรู้ และทักษะการจัดการเงินอย่างชาญฉลาดสำหรับเยาวชนไทย ภายใต้ 4 แนวคิดหลัก ได้แก่ การหารายได้ การเก็บออม การใช้จ่าย และการแบ่งปัน ผ่านกิจกรรม และเกมที่สนุกสนาน พร้อมตัวการ์ตูนสมาชิกวงดนตรีชะ-ชิ้งทั้ง 6 ที่มาร่วมสร้างรอยยิ้มให้แก่เด็กๆ โดยจะจัดที่ชั้น 1 ลานแฟชั่นฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน วันที่ 9-10 มิถุนายน และสวนสัตว์เชียงใหม่ วันที่ 16 มิถุนายน 2561
มร. อามัน โชวลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการชะ-ชิ้งเป็นโครงการที่ส่งเสริมความรอบรู้ทางการเงินแก่กลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปณิธานของกลุ่มบริษัทพรูเด็นเชียลที่มุ่งสร้างสิ่งดีๆ ให้แก่สังคมไทยอย่างยั่งยืน โดยในช่วงปี พ.ศ. 2555-2560 บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมชะ-ชิ้ง ตามโรงเรียนต่างๆ กว่า 125 แห่ง สามารถเข้าถึงเด็กๆ กว่า 10,800 คน บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เด็กๆ จะได้เรียนรู้ทักษะการจัดการการเงินที่จำเป็นต่างๆ จากโครงการชะ-ชิ้งเพื่อที่จะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่คุณภาพที่มีความรอบรู้และสามารถจัดการการเงินได้ดีในอนาคต”
มร. มาร์ค แฟนซี กรรมการบริหาร พรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น กล่าวว่า “เราเชื่อว่าอุปนิสัยการจัดการเงินที่ดีต้องได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้น โครงการชะ-ชิ้งจึงมุ่งไปยังกลุ่มเด็กที่มีอายุระหว่าง 7 -12 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปลูกฝังให้เด็กๆ เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการจัดการการเงินขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ หารายได้ เก็บออม ใช้จ่าย และแบ่งปัน ทั้งนี้ โครงการชะ-ชิ้งมิได้มุ่งไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างอุปนิสัยการจัดการเงินดังกล่าว และยังเป็นการวางรากฐานให้แก่คนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตอีกด้วย เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรม และเกมต่างๆ ที่เราเตรียมไว้สำหรับงานวันครอบครัวชะ-ชิ้ง จะช่วยให้ครอบครัวได้เรียนรู้ และเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กับเด็กๆ ในอีกทางหนึ่งด้วย”
“Cha-Ching Family Day by Prudence Foundation” จำลองภารกิจสำคัญให้เด็กๆ ช่วยกันสร้างให้เมืองเติบโตด้วยการจัดการทางการเงิน 4 แนวคิดหลัก ผ่านโซนกิจกรรม ประกอบด้วย Earn Zone โซนหารายได้จากการทำงาน 5 อาชีพในฝันของเด็กไทย ประกอบด้วย อาชีพครู หมอ นักฟุตบอล ตำรวจ และเชฟ Save Zone โซนสร้างให้มีนิสัยรักการออม เรียนรู้แยกแยะก่อนจะใช้จ่าย Spend Zone โซนฝึกไตร่ตรองคิดให้รอบคอบก่อนใช้จ่าย และ Donate Zone โซนเพื่อเรียนรู้การแบ่งปัน และให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมและเกมให้ร่วมสนุกอีกมากมาย
สำหรับกิจกรรมในงาน “วันครอบครัวชะ-ชิ้ง” บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก และสนุกสนาน ผู้ปกครองพาน้อง ๆ มาร่วมชมการแสดงและกิจกรรม ในส่วนเวทีหลัก มีความบันเทิงมากมาย โดยมีคุณแม่คนเก่ง คุณบุ๋ม-ปนัดดา วงศ์ผู้ดี พร้อมน้องอันดามัน คุณหมอโอ๋ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร จากเพจชื่อดัง “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์การสอนลูกๆ ให้เห็นความสำคัญของวินัยการบริหารเงิน นอกจากนี้ ยังมีการแสดงของศิลปินเด็ก “น้องแม็ค สิริ ไชยกุล” จากรายการ We Kid (Season 2) ที่มาสร้างรอยยิ้มและความประทับใจให้น้องๆ ด้วยบทเพลงอันไพเราะ รวมถึงบูธกิจกรรมจากช่องการ์ตูนบูมเมอแรง (Boomerang) ที่มาร่วมสร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้ร่วมงานด้วย โดยเหล่าผู้ปกครอง ที่มาร่วมกิจกรรมในงานบอกว่า รู้สึกดีใจที่ได้พาเด็กๆ มาร่วมสนุกกับกิจกรรมในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้
สำหรับที่มาของโครงการชะ-ชิ้งนั้น เกิดจากงานวิจัยที่ดำเนินการโดยพรูเด็นเชียล ในปี พ.ศ. 2554 พบว่า 95% ของผู้ปกครองชาวเอเชียให้ความสำคัญกับการสอนบุตรหลานในเรื่องการบริหารเงิน แต่มีผู้ปกครองชาวเอเชียเพียง 13% เท่านั้น ที่คิดว่า บุตรหลานของตนเองมีทักษะในการบริหารเงินที่ดีพอแล้ว จากข้อเท็จจริงนี้ โครงการ “ชะ-ชิ้ง” มันนี สมาร์ท คิดส์ (“Cha-Ching” Money Smart Kids) จึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสอนหลักการเบื้องต้นในเรื่องการบริหารเงินให้แก่เด็กๆ ผ่านแอนิเมชันประกอบดนตรีที่ให้ความรู้และความสนุกสนาน ผู้ชมสามารถเข้าถึงการ์ตูนชะ-ชิ้ง ได้จากหลากหลายช่องทาง ประกอบด้วย ช่องบูมเมอแรงและการ์ตูนเน็ตเวิร์ก ยูทูป เว็บไซต์ชะ-ชิ้ง รวมถึงหลักสูตรสำหรับโรงเรียนที่มีพื้นฐานหลักสูตรมาจากการ์ตูน แต่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับทางโรงเรียนได้
ปัจจุบัน การ์ตูนชะ-ชิ้ง ออกอากาศทั่วเอเชียเป็นภาษาต่างๆ ถึง 10 ภาษา และสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ถึง 34 ล้านครัวเรือนทั่วภูมิภาคเอเชีย ออกอากาศผ่านช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ก (Cartoon Network) และช่องฟรีทีวีในบางประเทศ สำหรับประเทศไทย การ์ตูนชะ-ชิ้งออกอากาศผ่านช่องบูมเมอแรง สามารถเข้าถึงกว่า 15 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ
นอกจากนี้ โรงเรียนต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียยังได้นำแนวความคิดการจัดการการเงินจากการ์ตูนชะ-ชิ้งมาใช้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ที่รวมไว้ในแผนการเรียนรู้หลักในการจัดการศึกษา ในประเทศของตนอีกด้วย
4 แนวคิดหลักเพื่อปลูกฝังความรู้ให้เด็กไทยเห็นความสำคัญของวินัยทางการเงิน
- งานวิจัยที่ดำเนินการโดยพรูเด็นเชียล ในปี พ.ศ. 2554 พบว่า 95% ของผู้ปกครองชาวเอเชียให้ความสำคัญกับการสอนบุตรหลานในเรื่องการบริหารเงิน แต่มีผู้ปกครองชาวเอเชียเพียง 13% เท่านั้น ที่คิดว่า บุตรหลานของตนเองมีทักษะในการบริหารเงินที่ดีพอแล้ว
- โครงการ “ชะ-ชิ้ง” มันนี สมาร์ท คิดส์ (“Cha-Ching” Money Smart Kids) จึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสอนหลักการเบื้องต้นในเรื่องการบริหารเงินให้แก่เด็กๆ ผ่านแอนิเมชันประกอบดนตรีที่ให้ความรู้และความสนุกสนาน ผู้ชมสามารถเข้าถึงการ์ตูนชะ-ชิ้ง ได้จากหลากหลายช่องทาง ประกอบด้วย ช่องบูมเมอแรงและการ์ตูนเน็ตเวิร์ก ยูทูป เว็บไซต์ชะ-ชิ้ง รวมถึงหลักสูตรสำหรับโรงเรียนที่มีพื้นฐานหลักสูตรมาจากการ์ตูน แต่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับทางโรงเรียนได้
- อุปนิสัยการจัดการเงินที่ดีต้องได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้น โครงการชะ-ชิ้งจึงมุ่งไปยังกลุ่มเด็กที่มีอายุระหว่าง 7 -12 ปี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปลูกฝังให้เด็กๆ เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการการจัดการการเงินขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ หารายได้ เก็บออม ใช้จ่าย และแบ่งปัน
- ด้วยความเชี่ยวชาญของดร. อลิซ ไวล์เดอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาสำหรับเด็ก และเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ เพลงต่างๆ และเนื้อหาของชะ-ชิ้งจึงถูกเขียนขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่แนวคิด 4 ประการตามที่ได้กล่าวมา
- Earn (หารายได้) เงินไม่ได้งอกมาเองจากต้นไม้ เราจะต้องหารายได้ก่อนจึงจะสามารถเก็บออม จับจ่าย หรือแบ่งปัน
- หัวข้อหลักๆ ประกอบด้วย ทำไมเราถึงต้องทำงาน โอกาสที่จะได้รับจากการเป็นเจ้าของกิจการ และ จะจัดการรายรับอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
- Save (เก็บออม) การเก็บออมเป็นอุปนิสัยที่สำคัญยิ่ง คุณจะต้องมั่นใจว่า คุณมีเงินเพียงพอก่อนที่จะซื้ออะไร และต้องรู้จักเก็บออมไว้ใช้ในยามจำเป็น หรือฉุกเฉิน
- หัวข้อหลักๆ ประกอบด้วย “สร้าง” เงินให้งอกเงย การเปรียบเทียบราคา แนวทางในการวางแผนและจัดทำงบประมาณ รวมถึงการเก็บออมเพื่อวัตถุประสงค์ระยะสั้นและระยะยาว
- Spend (จับจ่าย) เพื่อความรอบรู้ทางการเงิน เด็กๆ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในการแยกความแตกต่างระหว่าง “ความจำเป็น” และ “ความต้องการ” ความพึงพอใจฉับพลัน และความพึงพอใจที่ล่าช้าออกไป
- หัวข้อหลักๆ ประกอบด้วย งบประมาณ (การจัดทำแผน) การทำบัญชีรายจ่าย และการใช้เงินอย่างชาญลาด (“คิดก่อน”)
- Donate (แบ่งปัน) มีคนอีกมากมายที่มีน้อยกว่าเรา ดังนั้น จึงจำเป็นที่เราจะต้องแบ่งปัน
- หัวข้อหลักๆ ประกอบด้วย การแบ่งปันและการบริจาคเงินและเวลาบางส่วนเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสมควรที่จะกระทำ และการแบ่งปันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีๆ เสมอ