เป็นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นให้เกิดความกินดีอยู่ดีของมนุษย์และความเท่าเทียมกันทางสังคม โดยตั้งอยู่บนฐานของการพัฒนาแบบยั่งยืน และคำนึงถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาโลกที่กำลังเผชิญกับความเสียสมดุลจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ที่กำลังเพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากร 7.8 พันล้านคนในปีคศ. 2020 และจะขึ้นไปถึง 10 พันล้านคน ในปีคศ. 2050(ตามภาพที่ 1) ซึ่งจะนำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งด้านอาหารและพลังงาน พื้นที่ทำการเกษตรและที่อยู่อาศัย จีงเกิดการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ทำให้ทรัพยากรลดจำนวนลงไปมาก บางส่วนก็เสื่อมโทรม นอกจากนั้นยังมีการปล่อยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก จนเกินความสามารถของโลกที่จะรองรับได้
จึงทำให้เกิดแนวคิด ESG (Environment, Social, และ Governance หรือ สิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแล) ซี่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน ESG เป็นหนี่งในเทรนด์ที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในปัจจุบัน โดย Environment คำนึงถึงหลักเกณฑ์ในด้านความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม Social คำนึงถึงหลักเกณฑ์ในด้านการจัดการความสัมพันธ์และมีการสื่อสาร กับลูกจ้าง suppliers ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ Governance คำนึงถึงหลักเกณฑ์ในด้านการจัดการบริการความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย
Karl Burkart ปรมาจารย์ด้าน Green Economy ได้แบ่งเศรษฐกิจสีเขียวออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
- Green Energy ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังงานน้ำ ลม แสงแดด ความร้อนใต้พิภพ ฯลฯ เป็นพลังงานธรรมชาติที่ไม่หมดไปเหมือนเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เทรนด์ทั่วโลกในปัจจุบันส่งเสริมการใช้ Green Energy รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลก็ได้ส่งเสริมการใช้โซล่าเซลล์ รวมทั้งพลังงานน้ำ และกังหันลม
- อาคารสีเขียว (Green Building) คืออาคารที่สร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดวัฏจักรชีวิต (life cycle) ของตัวอาคาร ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเลือกพื้นที่ทำเล การออกแบบ การก่อสร้าง การดำเนินการ การดูแล การซ่อมแซมปรับปรุง ที่จะมีผลต่อสุขภาพของผู้คน (Human Health) และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (Natural Environment) โดยออกแบบและสร้างให้ใช้ทรัพยากรในการก่อสร้างน้อย และประหยัดพลังงานในการใช้สอย เช่น การติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบหมุนเวียนน้ำฝนมาใช้ภายในอาคาร ฯลฯ โดยมีการใช้ LEED หรือ Leadership in Energy & Environmental Design ซี่งสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา หรือ U.S. Green Building Council (USGBC) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้างและออกแบบอาคาร เพื่อพัฒนาให้เกิดอาคารสีเขียว ตั้งแต่ปีคศ. 1993โดยปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า15,000 ราย ซึ่งจำนวนนี้ เป็นทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน เป็นผู้กำหนดเกณฑ์ในการประเมินอาคารต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์ประเมินอาคารเขียว โดยอาคารในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก LEED ได้แก่ อาคารพาร์คเวนเจอร์ สาทรสแควร์ คิงเพาเวอร์ดิวตี้ฟรีพัทยา ธนาคารกสิกรไทยสาขาพหลโยธิน ฯลฯ นอกจากนี้ประเทศไทยเรายังมีการใช้เกณฑ์ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) เพื่อประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดย Thai Green Building Institute (TGBI) วี่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานอาคารเขียว
- พาหนะสะอาด ยานพาหนะซึ่งใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น รถไฮบริดจ์ รถพลังไฟฟ้า ฯลฯ จากภาพที่ 2 จะเห็นการเติบโตอย่างมากของรถยนต์ EV ระหว่างปีคศ. 2015-2020 โดยมี TESLA เป็นผู้นำในตลาด
ภาพที่ 2 การเติบโตของรถยนต์ EV ระหว่างปีคศ. 2015-2020 ที่มา https://www.iea.org/
- การจัดการน้ำ มีการอนุรักษ์แหล่งน้ำในธรรมชาติ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเชิงเศรษฐกิจให้มีการใช้งานคุ้มค่า มีการบำบัดน้ำเสียจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างปลอดภัย ฯลฯ
- การจัดการของเสีย การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ การบำบัดของเสีย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ให้เกิดขยะน้อยที่สุด
- การจัดการที่ดิน การอนุรักษ์ที่ดิน การฟื้นฟูสภาพดิน การจัดพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ป่าชุมชน เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ
ปัจจุบันมีการจัดหาเงินทุนของการลงทุนสีเขียวทั้งของภาครัฐและเอกชนผ่านช่องทาง Blockchain โดยหน่วยงานกำกับดูแล Blockchain สีเขียวที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ได้แก่ Fintech Corporation of London, Green Finance International Committee เป็นต้น
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_KitichaiBlog
website : https://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert