อุตสาหกรรมหนักถ้าเอ่ยถึงหลายคนคงนึกภาพไม่ออก แต่ถ้าเราพูดถึงน้ำท่วมก็จะนึกถึงเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่จะพามวลน้ำมหึมาสูบไปตามท่อขนาดใหญ่ไหลไปตามทิศทางที่เรากำหนด ฟร้อนท์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง คือหนึ่งในบริษัทที่อยู่เบื้องหลังที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และดูแลเครื่องสูบน้ำในสถานีสูบน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค รถและเรือขุด รวมทั้งอีกหลายนวัตกรรมของอุตสาหกรรม ที่ขาดไม่ได้คือคุณอภิวัฒน์ วุฒินันท์สุระสิทธิ์ หัวเรือใหญ่คุมบังเหียน ฟร้อนท์ไลน์ พร้อมพาองการค์ผ่าวิฤกตสู้โควิด-19
ความรับผิดชอบและหน้าที่ในองค์กร ทำอะไรบ้างและตำแหน่งที่รับผิดชอบคืออะไร
ตอนนี้ผมดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ฟร้อนท์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ดูการปฏิบัติการภายในองค์กร ซึ่งบริหารภาพรวมทั้งหมดของ Operation ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทีมพัฒนาธุรกิจ ทีมขาย ทีมวิศวกร การตลาด ทีมติดตั้งและทีมบริการหลังการขาย รวมถึงทีมที่สนับสนุนต่างๆในองค์กร
เล่าประวัติคร่าวๆ ก่อนมาดำรงตำแหน่ง
หลังจากเรียนจบที่ประเทศอังกฤษ พอกลับมาเมืองไทย มีโอกาสได้เรียนรู้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ตัวผมเองเลยมีประสบการณ์ตรงในการทำธุรกิจในต่างประเทศและการทำพัฒนาธุรกิจ พอโตขึ้นมาหน่อย ก็ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ ได้มาดูโครงการลุงทุนในต่างประเทศ ดูงานโครงการ ดูยอดขาย ดูงบกำไรขาดทุน จนขึ้นมานั่งบริหารงานตอนกลับมาเมืองไทยอีกครั้ง
จริงๆแล้วช่วงที่ทำธุรกิจระหว่างประเทศ ก็ได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในกลุ่มของประเทศตะวันออกกลาง ไปทุกที่ในประเทศแถบนั้นเลยน่าสนใจมากๆ เช่น อิรัก อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน บาห์เรน คูเวต จอร์แดน อิสราเอล ยกเว้น สองประเทศที่ไม่เคยไปเพราะเป็นพื้นที่สีแดงเสี่ยงต่อการก่อการร้ายในตอนนั้นคือ เยเมน และ ซีเรีย หลังจากนั้นมีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในซาอุดิอาระเบีย เป็น Holding Company ขนาดใหญ่
ผมเข้าไปทำ Investment project ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง จากนั้นก็ได้มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทชั้นนำระดับโลก หลายบริษัทที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการลงทุนนั้น ส่วนตัวผมเองด้วยเหตุที่เป็นคนที่ชอบศึกษา วัฒนธรรม อารยธรรมและชอบออกกำลังกาย ผมเลยชื่นชอบประเทศอิหร่านมาก ส่วนซาอุดิอาระเบียก็ชอบเพราะผมชอบขี่ม้า โชคดีที่มีคอกและสนามขี่ม้าใกล้ที่ทำงานก็เลยมีความสุขอยู่ได้ไม่เบื่อ หลังจากนั้นทางประธานบริษัทให้ผม ย้ายไปที่ดูไบเพื่อไปเปิดออฟฟิศสาขาที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จนประสบความสำเร็จ ผมก็ย้ายกลับมาที่เมืองไทย และเริ่มเข้ามาจับธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องยนต์ วิศวกรรมและก่อสร้าง
ที่นี่เรามองว่ายังมีการเติบโตอีกได้เยอะ หน้าที่หลักๆ ผมมาดูในส่วน Operation ทำอย่างไรที่จะตอบ Vision องค์กรแกร่ง ดีทีม พัฒนาสู่สากล เราฉายภาพมองไปในอนาคต ผมเชื่อว่าบริษัทหลายบริษัทในประเทศไทย นอกจากการบริหารที่จะต้องประสบผลสำเร็จมีรายได้มีกำไรแล้ว ถ้าวันหนึ่งเราสามารถไปถึงจุดที่หลายๆ บริษัทก็อยากจะไปต่อ คือเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เราก็คงอยากจะไป แต่ต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมวางแผนระบบ ช่วงนี้เราเข้ามาเซ็ตอัพระบบขันน๊อตให้แน่นขึ้น นี่คือหน้าที่หลัก ๆ ของผม
นวัตกรรมของธุรกิจ
เราทำธุรกิจไม่ใช่แค่ปั๊มอย่างเดียว เราทำธุรกิจหลายอย่างที่เกี่ยวกับ
น้ำเลย ส่วนของเรือขุด รถขุด สะพานเหล็ก ระบบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ตอบโจทย์ความต้องการในอนาคต เทรนโซล่าเซลล์มาอยู่แล้ว เรามองว่าพื้นที่ห่างไกล ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง เป็นพื้นที่ off grid หรือถ้าเราจะพึ่งพาแต่เครื่องยนต์เป็นแหล่งพลังงาน อาจจะไม่ตอบโจทย์อย่างยั่งยืน เราบูรณาการเอาโซล่าเซลล์เข้ามาใช้ในระบบของเรา
ในกลุ่มลูกค้าของเราก็มีหลากหลายคือเราทำทั้ง รัฐวิหาสกิจ ราชการ เอกชน พยามสร้าง Demo City สร้าง segment หลายๆ segment ให้กับบริษัท ในขณะเดียวกันเราก็ไม่หยุดเพิ่มสินค้าใน portfolio ของเรา โดยเราเลือกแต่สินค้าที่มีคุณภาพเข้ามาทำตลาดเท่านั้น จะเห็นได้ว่าพาร์ทเนอร์ของเรา ถ้าเป็นคนที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมนี้ ก็ต้องบอกได้เลยว่าอยู่อันดับต้นๆ ของโลกทั้งนั้น เราต้องการสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ฉะนั้นเราต้องมองว่าอะไรเป็นพื้นฐานสำคัญที่จูงใจหรือแก้ปัญหาลูกค้าของเราได้ ผมบอกได้เลยว่า บริษัทเราทำเอ็นจิเนี่ยริ่ง สิ่งที่ต้องการใส่ลงไปคือ engineering value added ลูกค้าไม่ต้องการที่จะได้แค่ข้อมูลทางเทคนิคเพื่อนำไปคำนวนหรือออกแบบเท่านั้น แต่ทีมงานและวิศกรเราลงไปทำงานตั้งแต่สร้าง conceptual design แนวความคิด ร่วมออกแบบและให้คำแนะนำเพื่อให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ตลอดอายุการใช้งานและประหยัดพลังงาน ตลอดไปจนถึงงานบริการหลังการขาย เราเป็น one stop shop ตั้งแต่เริ่มออกแบบ ก่อสร้าง ประกอบและติดตั้ง ซ่อมบำรุง งาน turn key เราก็ทำ
การทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ วิธีมัดใจลูกค้า
เราเน้นย้ำกับทีมงานในการพูดคุยพบปะลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่เรากำลัง deliver ให้กับกลุ่มเป้าหมายของเรา มันเป็น High Value เราขายของมูลค่าสูง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราเน้นย้ำในทีมงานว่า เราต้องทำตัวเป็น consultative engineering และใช้ expertise ของเราเป็น value added เข้าไปในแต่ละโครงการ บางโครงการเราพยายามแนะนำให้เติมงบประมาณเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีขึ้นในระยะยาว โดยใช้สินค้าที่มีคุณภาพในขณะเดียวกันก็สามารถประหยัดงบประมาณด้านอื่นๆในการทำโครงการนั้น ๆได้ บางโครงการเราช่วยลดงบประมาณเพื่อที่จะตอบโจทย์การใช้งานและประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามัดใจลูกค้าว่า เราไม่ได้ขายของเป็นแบบซื้อมาขายไป เราลงทุนเยอะมากในการบริการหลังการขาย เพราะเราสร้างทีมติดตั้ง ทีมวิศวกรรม ทีมบริการหลังการขาย ซึ่งทีมเราวิ่งกันทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ทางบริษัท มีกิจกรรมของสังคม CSR &CSV
บริษัทผูกกับวิธีชีวิตของคนไทยค่อนข้างมากถ้าดูจากสถาวะเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม น้ำแล้ง ถ้าน้ำท่วม ปั๊มเราช่วยในการระบายน้ำ แต่ถ้าเป็นหน้าแล้ง ปั๊มเราจะช่วยดูดน้ำจากบาดาลเพื่อให้เกษตรกร ให้ประชาชนมีน้ำไว้อุปโภคบริโภค บรรเทาความเดือนร้อน เราทำกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาของเด็กๆในพื้นที่ห่างไกล ธุรกันดาร เข้าไปทำอาคารน้ำดื่มจากน้ำบาดาลให้กับคนในชุมชม รวมไปถึงการหยิบยื่นความช่วยเหลือ บริจาคแบ่งบันสิ่งของให้แก่ผู้ต้องการในชุมชนต่างๆ ตามสถานการณ์นั้นๆ
ทิศทางของบริษัท
เราสร้างโรงงานใหม่ขึ้นมาเพื่อรักษามาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อควบคุมคุณภาพที่มอบให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ในปีนี้มีแผนที่จะลงทุนในอุปกรณ์เครื่องจักร เพื่อที่จะตอบรับกับแผนต่าง ๆ ในอนาคต และระบบ Smart Water Management เป็นสิ่งที่เทรนด์กำลังเข้ามา
นอกเหนือจากกลุ่มอุตสาหกรรมแล้ว เรามองภาพไปไกลในอีกหลายๆ segment ยกตัวอย่างเช่น Residential High Rise Building อันนี้ก็น่าสนใจ สิ่งที่เรามองคือการขยายและต่อยอด
เราพยายามเอาเทคโนโลยี ใหม่ๆ อย่างเช่นโปรเจค SWM (Smart Water Management) เราเอา IoT (Internet of Things) เข้าไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและบริการหลังการขาย เรามี smart censer ที่สามารถส่งข้อมูลแบบ Real time เข้ามาประมวลผลและเพื่อแจ้งเตือนก่อนเกิดปัญหาแถมยังเป็นการลดพลังงาน ประหยัดทรัพยากร และทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพของระบบได้อย่างต็มที่และได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
ยิ่งสถานการณ์โควิค เราทุกคนต้องลดและจำกัดการเคลื่อนย้าย พนักงานยัง work from home ฉะนั้นเราต้องอาศัย สิ่งเหล่านี้เป็นมือไม้แขนขาช่วยเราในการทำงาน และเมื่อเรามี Big Data แล้วเราจะสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปต่อยอดทางธรุกิจเพื่อให้มั่นใจว่า ลูกค้าของเราจะได้รับการบริการที่พึ่งพอใจและมีประสิทธิภาพที่สุด
โควิดระลอกที่สามนี้ค่อนข้างหนักเพราะโครงการต่างๆเกิดการชงัก เงินงบประมาณต่างๆ ของทั้งราชการและเอกชนก็ต้องจัดสรรปันส่วนมาบรรเทาเรื่องโควิดและผลกระทบของโควิดเป็นเรื่องเร่งด่วน
ปีนี้และปีหน้าเราต้องปรับตัวให้อยู่รอด เราต้องหา Pain Point ของลูกค้าในสถานการณ์นั้น ๆให้ได้ สมัยก่อนจะลอกคูคลองหรือปากแม่น้ำ จะต้องเอารถแม็คโครเข้าไปข้างๆ และตักขึ้นมา ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นแล้ว เราออกแบบดีไซด์ ให้รถแม็คโครวิ่งลงน้ำได้ ลอยอยู่ในน้ำ เราเปลี่ยนหัวตักมาเป็นปั๊มขุด สามารถดูดโคลนจากใต้น้ำผ่านท่อที่เราออกแบบ ต่อปลายท่อยาวเป็นกิโลได้เลย เพื่อป็นการลดขั้นตอน ลดต้นทุน ซึ่งตอบโจทย์กับความต้องการที่ลูกค้ามองหา
สัดส่วนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ลูกค้าเราค่อนข้างมีหลากหลายทั้งกลุ่มราชการ และกลุ่ม สเตทเอ็นเตอร์ไพรส อินดัสเตรียล คอมเมอร์เชียล แต่ถ้าเป็นเรสซิเดนท์เชียลขนาดเล็กอาจจะยังไม่มี เราทำปั๊มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น การประปาส่วนภูมิภาค กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่เหลือจะเป็น คอมเมอร์เชียล
เทคนิคที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
ตั้งแต่ผมเริ่มทำงานผมเติบโตสายพัฒนาธุรกิจ ยิ่ง
การทำงานระหว่างประเทศด้วยแล้วนั้น สิ่งที่ผมต้องออกมากที่สุดคือ Comfort zone สิ่งที่เราต้องสร้างและปลูกฝังเลยอย่างแรกเลยคือ ต้องพยายามออกจาก Comfort zone ให้ได้ และลำดับต่อมา คือ ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและท้าทาย สองคำนี้จะนำพาให้ไปรอดทุกอย่าง เปลี่ยนแปลงคือ เปลี่ยนทั้งทัศนติ พฤติกรรม วิธีการ วิธีคิด ส่วนจะเปลี่ยนแปลงแบบไหน ไม่ว่าจะวิถีชีวิตที่เปลี่ยน โลกที่เปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยน นวัตกรรมที่มันเปลี่ยน ไม่ว่าจะมุมไหน การเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองสิ่งเหล่านี้ จะสามารถที่จะนำพาให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
การปรับตัวช่วงโควิดระบาด
ต้องเปลี่ยนแปลงและท้าทาย ผมขอยกคำพูดของ ดร. สุชาดา ในงานสัมนาเชิงวิชาการของสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ ที่ผมเป็นครธกรรมการบริหารสมาคมอยู่ด้วยว่า “เปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน” ถ้าเราเปลี่ยนด้วยความสมัครใจ เราจะเปลี่ยนแบบสร้างสรรค์และเป็นพลังงานบวก ถ้าเราถูกบังคับให้เปลี่ยน การเปลี่ยนนั้นเราจะไม่มีทางเลือกอื่นเลย ไม่มีแม้แต่เวลาทบทวน หรือหาสิ่งที่ดีกว่า คือถูกบังคับแล้ว มันช้าไปแล้ว เช่น ก่อนสถานการณ์โควิด เมื่อก่อนเราใช้กระดาษในทุกวาระ เช่น การสั่งซื้อ ออก memo จะจัดทำเอกสารชี้แจงอะไรต่าง ๆ การเดินเอกสารต่อในการอนุมัติ เราเปลี่ยนระบบเอกสารเก็บทุกอย่างเข้าเป็นอิเล็กทรอนิกส์หมด ไม่เสียกระดาษสักแผ่นและไม่เปลืองทรัพยากรธรรมชาติด้วย พอเกิดเหตุการณ์โควิด ในส่วนของโอเปอร์เรชั่นเราอยู่ต่างจังหวัดก็สามารถเซ็นเอกสารได้ เดินเอกสารต่อได้ เราอยู่บ้าน ก็สามารถทำเอกสารได้ แล้วคุณ work from Home จะมีปัญหาไหม? ไม่มี คือเราเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน เรานำเทคโนโลยีเข้ามา เราใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับเรา การทำงานระหว่างนี้ไม่มีสะดุด ยังดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญคือมันมีประสิทธิภาพ
ฝากถึงนักธุรกิจเอสเอ็มอี ตัวผมเองผมดูในธุรกิจที่ผมเชี่ยวชาญ ผมก็ไม่รู้หรอกว่าธุรกิจต่าง ๆเอสเอ็มอีจะมีโซลูชั่นอะไร แต่ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเราพยายามมองหาโอกาสอยู่ตลอดเวลา พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและท้าทายคือคุณมั่นใจเลยว่าคุณจะพร้อมรับมือทุกสถานการณ์แน่ คุณเปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงนั้นจะยั่งยืน สร้างสรรค์ และเต็มไปด้วยพลังบวก
ของให้กำลังใจเอสเอ็มอี อย่างแรกเราต้องมีสติ บางธุรกิจอาจจะเตรียมตัวไม่ทัน รับมือไม่ทัน กัดฟันกันมาสองปีแล้วคิดว่าจะปิด แต่ถ้าเราดึงอีกสักพักเราอาจจะกลับมาได้ก็ได้ เราต้องดูว่าเรามาถึงจุดที่เราไม่ไหวแล้วจริงๆ หรือเปล่า? แต่ถ้าเราลองรออีกสักนิดก่อนที่จะคิดว่าถึงจุดที่เราไม่ไหวแล้ว ก่อนที่จะปิด เพราะใครจะรู้ว่าปลายปีหรือปีหน้าอาจจะกลับมาแบบยาวๆ เลยก็ได้ “ผมไม่มีสูตรสำเร็จแต่ผมมีสูตรที่จะหลีกเลี่ยงความล้มเหลว เพราะผมเชื่อว่าถ้าหลีกเลี่ยงความล้มเหลวไปเรื่อยๆ วันหนึ่งความสำเร็จจะกลับมาเอง ผมคิดแบบนี้” และผมก็อยากจะให้กำลังใจเอสเอ็มอี ขอให้อดทน มีสติแล้ว คุณจะต้องเปลี่ยนแปลง
คติในการทำงาน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัว หรือเรื่องงาน หรืออะไรก็ได้เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้ไร้ที่ติหรือเพอร์เฟค แต่ผมจะทำในสิ่งที่ผมทำลงไปแล้ว และสามารถตอบตัวเองได้ว่าไม่เสียใจภายหลังและยอมรับกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ฟร้อนท์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง