ในบทความตอนที่ 1 ผมได้กล่าวถึงอัตราส่วนคนยากจนในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงสมัยนายกทักษิณ ชินวัตร จนถึงนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม และผมยังได้กล่าวถึงการเติบโตของรายได้ครัวเรือนไทยและสัดส่วนรายได้ครัวเรือนไทยเมื่อเทียบกับหนี้สินครัวเรือน รวมทั้งสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
ผมขอนำมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่มีต่อต่อสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปัจจุบัน จากข้อมูลของ ธปท. ที่เผยแพร่ออกมาสะท้อนให้เห็นว่า “หนี้ครัวเรือน” ไตรมาส 2/2563 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนของไทยยังคงขยับขึ้นสวนทางเศรษฐกิจที่หดตัวจากผลของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 18 ปี ที่ 83.8% ต่อจีดีพี(สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ในช่วงสมัยทักษิณ อยู่ที่ประมาณ 40% เท่านั้น) และเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาสนั้นพบว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น 9.22 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 2/2563 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์ คาดว่า สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของไทย อาจขยับสูงขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณ 88-90% ต่อ GDP ณ สิ้นปี 2563 (ในขณะที่ปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวของประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านในอาเซียนของเราอยู่ที่ประมาณ 10%ต้นๆเท่านั้น ภาพที่ 6) ซึ่งนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 18 ปี (ข้อมูล ธปท. ย้อนหลังถึงปี 2546) ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนว่า ภาคครัวเรือนกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม ตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไทยกำลังเผชิญ โดยเฉพาะท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะ 1-2 ปี ข้างหน้านี้ โดยหนี้สินครัวเรือนไทยส่วนใหญ่มาจาก หนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัย หนี้ผ่อนรถยนต์ และผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งการขาดสภาพคล่อง ตามภาพที่ 7 และการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนแยกตามประเภทสินเชื่อ และประเภทของสถาบันการเงิน ตามภาพที่ 8
สาเหตุข้อที่ 3 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแตกต่างของความมั่งคั่งระหว่างคนรวยและคนจนว่างมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยประชากร 1% ที่รวยที่สุดของประเทศ ครอบครองความมั่งคั่งถึง 66.9% ของความมั่งคั่งทั้งประเทศ ตามภาพที่ 9 ถ้าเปรียบเทียบความไม่สมดุลของความมั่งคั่งทั้งอาเซียน ประเทศไทยถูกจัดเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน โดยมีคะแนนอยู่ที่ 90.2 และจัดเป็นอันดับที่ 4 ของโลกในปี 2018 ตามภาพที่ 10 และ 11 และจากบทรายงานล่าสุดของเครดิตสวิส ประชากรไทยที่อยู่ฐานล่างสุด 10% ครอบครองความมั่งคั่งเพียง 0% ของความมั่งคั่งของประเทศ และประชากรไทยฐานล่างสุดขึ้นมา 50% ครอบครองความมั่งคั่งเพียง 1.7% ของความมั่งคั่งของประเทศ ในขณะที่ ประชากรไทย 10% ที่รวยที่สุดในประเทศ ครอบครองความมั่งคั่งถึง 85.7% และช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนถ่างกว้างมากขึ้นเรื่อยๆในสมัยพลเอกประยุทธ์
สาเหตุข้อที่ 4 การเติบโตของ GDP ประเทศไทยในช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ โตต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ 3 รัฐบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้
GDP ช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ อยู่ที่ระหว่าง 3.44 ถึง 7.19% 6 ปี (2001-2006) เฉลี่ยอยู่ที่ 5.37%
GDP ช่วงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ อยู่ที่ระหว่าง -0.69 ถึง 7.51% 4 ปี (2008-2011) เฉลี่ยอยู่ที่ 2.35%
GDP ช่วงสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อยู่ที่ระหว่าง 0.84 ถึง 7.24% 4 ปี (2011-2014) เฉลี่ยอยู่ที่ 2.94%
GDP ช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ อยู่ที่ระหว่าง -6.66(EXP) ถึง 4.13% 7 ปี (2014-2020) เฉลี่ยอยู่ที่ 1.62%
สาเหตุข้อที่ 5 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(FDI) ตามภาพที่ 13 เปรียบเทียบสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ยิ่งลักษณ์ และประยุทธ์ (พอดีผมไม่มีข้อมูลสมัยรัฐบาลทักษิณ จึงขอไม่กล่าวถึง)
FDI ช่วงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,877 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 246,550 ล้านบาท
FDI ช่วงสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 9,071 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 283,922 ล้านบาท
FDI ช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 7,279 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 227,832 ล้านบาท
จะสังเกตเห็นได้ว่า FDI สมัยรัฐบาลประยุทธ์ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับรัฐบาลอภิสิทธิ์และยิ่งลักษณ์
สาเหตุข้อที่ 6 การเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET INDEX) ตามภาพที่ 14 ในช่วง 4 รัฐบาล มีรายละเอียดดังนี้
SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ (9/2/2001-19/9/2006) อยู่ที่ระหว่าง 327.51-702.56 ขึ้นมาเฉลี่ย 20.51%/ปี
SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ (17/12/2008-5/8/2011) อยู่ที่ระหว่าง 445.31-1,093.38 ขึ้นมาเฉลี่ย 52.92%/ปี
SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (5/8/2011-7/5/2014) อยู่ที่ระหว่าง 1,124.01-1,402.61 ขึ้นมาเฉลี่ย 9.01%/ปี
SET INDEX ช่วงสมัยรัฐบาลประยุทธ์ (24/8/2014-21/10/2020) อยู่ที่ระหว่าง 1,556.97-1,216.43 ลดลงเฉลี่ย 3.55%/ปี
จะเห็นได้ว่า SET INDEX ขึ้นเฉลี่ยสูงสุดในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ขณะที่แย่ที่สุดสมัยรัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งเป็นรัฐบาลเดียวใน 4 รัฐบาลที่ SET INDEX ลดลง
จาก 5 สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตยไม่เต็มใบ เศรษฐกิจโดยรวมจะแย่กว่าตอนช่วงที่ประชาธิปไตยเบ่งบานเต็มที่ และน่าจะเป็นสาเหตุหลักๆที่ประชาชนออกมาชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ลาออก นอกเหนือจากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นธรรม และการสืบทอดอำนาจ
Twitter : http://twitter.com/value_talk
Instagram : Gid_KitichaiBlog
website : https://kitichai1.blogspot.com
You Tube : http://www.youtube.com/c/KitichaiTaechangamlert