ณ ข้อมูลตอนนี้สถานการณ์ทั่วโลกกำลังรับมือกับวิกฤตโรคระาดกับไวรัส ที่ชื่อ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ Covid 19 ที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีน และอีกหลายระเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ยอดผู้ติดเชื้อโควิค 1,771 คน เสียชีวิต 12 คน ซึ่งยอดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกพุ่งแตะ 865,940 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตอยู่ที่ 43,013 ราย รายงานของซีเอสเอสอี ระบุว่า สหรัฐยังคงทำสถิติของการมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงที่สุดในโลก โดยอยู่ที่ 189,792 ราย รองลงมาคือ อิตาลี 105,792 ราย, สเปน 105,136 ราย, จีน 83,189 ราย, เยอรมนี 67,366 ราย, ฝรั่งเศส 52,128 ราย , อิหร่าน 47,593 ราย และอังกฤษ 25,150 ราย
ดังน้ั้นหากสถานการณ์ยังทวีคูณยอดผู้ป่วยจะต้องเพิ่มการรับมืออย่างทันทวงที เพราะผู้ป่วยจะเริ่มมากขึ้นและโรงพยาบาลจะรับมือไม่ทัน เพราะโรงพยาบาลมีเตียงผู้ป่วยจำกัด ดังนั้นโรงพยบาลสนามธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ขึ้นเกิดขึ้นเพื่อมารองรับผู้ป่วยที่มากขึ้นและจำนวนเตียงโรงพยาบาลอาจจะไม่พอสำหรับการรักษา
จุดเริ่มต้นมากจาก 5 ทางโรงพบาลธรรมศาสตร์ โรงเรียนแพทย์ 5 สถาบัน คือ คณะแพทย์ของธรรมศาสตร์ คณะแพทย์จากจุฬาลงกรณ์ คณะแพทย์ของศิริราช คณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลวชิระ ทั้งหมดได้มีความคิดเห็นตรงกันที่จะต้องตั้งโรงพยาบาลสนาม ดังนี้ทางธรรมศาสตร์จึงได้มีหน้าที่จัดหาโรงพยาบาลสนาม มีอาคารดีลักซ์ซึ่งเป็าอาคารสำหรับบุคลากร และสำหรับบุคลภายนอกมาเช่าพัก มีห้องทั้งหมด 300 ห้องจึงมีความพร้อมสำหรับการจัดโรงพยาบาลสนาม
โรงพยาบาลสนามของธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต จึงเกิดขึ้นเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิคเพราะ ปกติผู้ป่วยโควิดที่ได้รับการรักษาแล้ว แม้จะอาการดีขึ้นแต่ก็ยังให้กลับบ้านไม่ได้ ต้องดูอาการอีกอย่างน้อย 14 วัน ทำให้เตียงที่โรงพยาบาลต่างๆ เต็มอย่างรวดเร็ว เพราะคนที่อาการดีแล้วก็ยังให้กลับบ้านไม่ได้ ผู้ป่วยรายใหม่ก็จะมามากขึ้นเรื่อยๆ และในไม่ช้าประเทศไทยก็จะเกิดวิกฤตการณ์แบบอิตาลี
วิธีการแก้ปัญหาคือ หาสถานที่เป็นที่เป็นโรงพยาบาลสนามสำหรับพักฟื้นดูอาการ #เพื่อระบายผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นแล้วจากโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลต่างๆ มีเตียงว่างในการรับคนไข้รายต่อๆ ไป และจะทำให้โรงพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยรายใหม่ๆ ไปได้เรื่อยๆ ครับ
เรื่องของเรื่องที่ทำให้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดคือ โรงพยาบาลต่างๆ ในกรุงเทพ ตอนนี้เตียงเริ่มเต็ม และจะไม่สามารถรับผู้ป่วยรายใหม่ได้แล้ว จึงต้องมีการตั้งโรงพยาบาลสนามดังกล่าวขึ้นมา โดยโรงพยาบาลสนามของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ผู้เป็นหนึ่งส่วนจากโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ 5 แห่งในกรุงเทพ
เมื่อได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการดูแลโรงพยาบาลสนามนี้ ถึงได้เข้าใจว่าทำไมต้องทำ และเมื่อที่ธรรมศาสตร์ทำได้ ก็จะเกิดสถานที่แบบนี้ในที่อื่นๆ ทั่วประเทศ และจะทำให้ประเทศไทยไม่วิกฤตแบบประเทศอิตาลีอย่างแน่นอน
ไวรัสโควิค19 ไม่ได้แพร่ระบาดทางอากาศ แอร์บอร์น จะติดต่อได้ต่อเมื่อคนสู่คน ดังนั้นเพียงไม่สัมผัสกันในระยะห่าง 1-2 เมตรก็จะไม่ติด แต่ถ้ามีการจับต้องจะต้องรีบล้างมือ ภายในโรงพยาบาลสนามนั้นเราจะไม่มีการส่งผู้ป่วยหนัก มาที่โรงพยาบาลสนาม เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว เป็นหลักอยู่ระหว่างการกักตัวให้อยู่ระหว่างการกักตัวให้หมดเชื้อ จะต้องผ่านโรงพยาบาลจาก 5 แห่งถึงจะส่งผู้ป่วยมาที่นี่ได้ และเป็นผู้ตัดสินใจ
ความสำคัญของโรงพยาบาลสนาม คือเตียงที่โรงพยาบาลที่จะต้องรองรับผู้ป่วยที่ค่อยยังชั่วแล้ว และผ่านการรักษามาแล้ว 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน
ระบบแอร์แยกกัน ที่นี่ถูกเลือกเพราะพื้นไม่ใช่พรม เป็นพื้นเป็นกระเบื้อง แล้วแอร์แยกเป็นตัวๆ และยังมีห้องน้้ำในตัว ทางเราแค่เตรียมความพร้อม เราจะให้คนป่วยได้พักชั้น 8-9 ก่อนนี่คือการเตรียมการรองรับในอนาคตเพื่อเตรียมความพร้อมก่อน เพราะในอนาคต จะมีผู้ป่วยเพิ่มมาขึ้นและโรงพยาบาลธรรมศาสตร์และโรงพยาบาลอีก 5 แห่งและ เตียงคนป่วยจะไม่เต็มเพราะผู้ป่วยบางส่วนจะทยอยมารักษาที่นี่ ดังน้นโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่งจะได้ทำการรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ และจะมีเจ้าที่จากโรงพยาบาล และจะมีอาสาสมัครนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล นักศึกษาที่เป็นสาธารณสุขโดยตรง นี้คือการเตรียมการในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อม
โรงพยาบาลสนามจึงเป็นเรื่องจำเป็นกับการรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 สถานการณ์ขณะนี้คือวิกฤตของประเทศ ที่เราชาวไทยจะต้องร่วมมือกันให้ประเทศของเราเดินต่อไปได้โดยเร็ว สิ่งที่เราจะต้องช่วยกันลดการระบาดด้วยการ Social Distancing โดยการลดการติดต่อ เพื่อลดการแพร่ระบาดและเป้าหมายของพวกเราทุกคนคือกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิมโดยเร็ว
ขอขอบคุณข้อมูล
คุณปริญญา เทวานฤมิตรกุล
รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต
ผู้จัดการโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต