ถ้าให้เอ่ยถึงเรื่องสุขภาพนั้น ตอนนี้คงหนีไม่พ้นกระแส ฝุ่น PM 2.5 ซึ่แตะละหน่อยงานก็เร่งหันมารณรงค์เรื่องนี้ และประชาชนก็หันมาใส่ใจ PM 2.5 กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพราะผลกระทบนั้นค่อนข้างน่าเป็นห่วง กลายเป็นต้องระมัดระวังกันมากขึ้น หากประมาทอาจมีโรคภัย และการเจ็บป่วยมาเยืยนได้ หากไม่ได้ป้องกันเสียเนิ่นๆ ดังนั้นวันนี้เราจะมาบอกวิธีการรับมือกับเกาะป้องกันกับฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ และสุขภาพดีถึงฝุ่นมาถึงตัวเราก็ไม่กลัว
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าฝุ่น PM 2.5 กันก่อน
PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มาจากสองแหล่งกำเนิดใหญ่ๆ คือ
- แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต เกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้างอยู่ในระดับค่าฝุ่นละออง PM 10 ในความเห็นของเขา มองว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน น่ากังวลกว่า เพราะสามารถเข้าสู่ปอดและกระแสเลือดได้
- การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ อย่างไร
ฝุ่น PM 2.5 ไม่มีกลิ่น มีขนาดเล็กมาก สามารถผ่านเข้าไปในร่างกายได้ถึงถุงลมปอด บางส่วนสามารถเล็ดรอดผ่านผนังถุงลมปอดเข้าไปในเส้นเลือดฝอยล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด และกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายได้- กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง
- กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- สำหรับผลระยะยาวจะทำให้การทำงานของปอดถดถอย อาจเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้ แม้ว่าคุณจะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม และเพิ่มโอกาสทำให้เกิดมะเร็งปอดได้อีกด้วย
ปลอดภัยไว้ก่อนและเตรียมพร้อมรับมือ
1. หลีกเลี่ยงแหล่งที่มีการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้งช่น การเผาพื้นที่เพื่อเตรียมการทำเกษตรกรรม การเผาขยะ หรือวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น
2. หลี่กเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์
3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หากต้องไปพื้นที่สีส้มหรือสีแดง เขตที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ในะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยชนิดที่เรียกว่า “เอ็นเก้าห้า (N95)” 4. โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคหัวใจเรื้อรัง เพราะสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ดี
สำหรับคนทั่วไปอย่างน้อยให้ใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6. นอนให้เพียงพอ
7.ทานวิตามินซี เสริมภูมิคุ้มเห็นไหมค่ะว่าเป็นภัยเล็กๆ ของมลพิษต่ออากาศและส่งผลกระทบกับร่างราย ก็สามารถทำให้เราเจ็บป่วยได้ และมีผลกระทบตามมาหลายอย่าง ดังนั้นเราควรป้องกันโดยการใส่หน้ากากอนามัย (N95) ทุกครั้งเวลาไปสู่ที่โล่งแจ้งหรือออกจากบ้าน แต่ถ้าไม่มีหน้ากาก เราก็สามารถใช้หน้ากากอนามัยได้ แต่สิ่งที่เราทุกคนควรคำนึงคือการที่รณรงค์เรื่องการเผาไหม้ขยะ และการลดไอเสียจากรถยนต์และหมั่นเช็ครถเป็นประจำ เพื่อควบคุมฝุ่น PM 2.5 ไม่ให้เกินมาตรฐานนั่นเอง
PM 2.5
PM 2.5 ฝุ่นละออกตัวจิ๋ว
องค์กรอนามัยโลกกำหนดให้ PM2.5 อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 เป็นสาเหตุ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร